วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมชำนาญการ และนางสาวกิตติญา นาสนิท นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม ลงพื้นที่ติดตามการระบาดศัตรูพืชในทุเรียนของ นายสมพร เดชาฐาน และนางจาราพร อุปฐะ หม่ที่ 9 ตำบลทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการลงพื้นที่พบการเข้าทำลายของหนอนเจาะผลทุเรียน โดยหนอนกินอยู่ที่ผิวเปลือกทุเรียนบริเวณที่ผลทุเรียนติดกันซึ่งมักมีหนอนเจาะกินอยู่บริเวณนั้น หรือเจาะกินเนื้อในผลใกล้กับขั้วผล แต่จะไม่กินถึงเมล็ด โดยทุเรียนถูกเจาะตั้งแต่ผลยังเล็ก มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป
การป้องกันกำจัด
วิธีป้องกันกำจัด
1 หมั่นตรวจดูผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย
2 ผลทุเรียนที่เน่าและร่วงเพราะถูกหนอนทำลายควรเก็บทำลายโดยการเผาไฟหรือฝัง
3 ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย
4 การห่อผลด้วยถุงมุ้งไนล่อน ถุงรีเมย์ หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่างเพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
5 สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็น โดยใช้สาร
แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น