วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

งดให้บริการชีวภัณฑ์และแมลงศัตรูธรรมชาติ

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง 30 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าสถานการณ์ของโรคจะคลี่คลาย

ประชุมเตรียมการตรวจราชการของผู้ตรวจกระทรวงฯ

นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบที่ 2 กับหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งสังกัดส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีนายสุริยันต์ บุญญานุกูล เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม ผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม  ZOOM ทั้งนี้ที่ประชุมจะได้เตรียมสรุปขัอมูลผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอผู้ตรวจราชการฯ ตามประเด็นในแบบรายงานต่อไป



วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการใหม่(Field Day) ปี 2564

วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายปัญจ์ขิเน เชื้อชาญพลนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และนายภาณุรักษ์ ประทับกอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมงานถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูการใหม่(Field Day) ปี 2564 โดยถ่ายทอดความรู้ด้านการป้องกันกำจัดศัตรูแบบผสมผสาน เป็นการจัดฝึกอบรมในหัวข้อเรื่อง การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชแบบผสมผสาน นอกจากนี้ได้สาธิตการทำสารสกัดสะเดา ณ ม.5 ต.รามแก้ว อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

มอบผลไม้ "มังคุด" ผลผลิตจากแปลงพยากรณ์ศัตรูพืช

 

วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ นางณัฐฐาภรณ์ เพชรทองขาว หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ส่งมอบผลไม้ "มังคุด" ผลผลิตจากแปลงพยากรณ์ศัตรูพืช ของศูนย์ฯ แก่สาธารณสุขอำเภอพุนพิน และโรงพยาบาลพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากร ได้บริโภคผลไม้สดปลอดภัยจากสารเคมี ระหว่างที่พักปฏิบัติหน้าที่ตรวจรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019

สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา



วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์

ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th 

ระหว่างวันที่ 23 – 29 กรกฎาคม 2564

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ศทอ.สุราษฎร์ธานี สนับสนุนแมลงหางหนีบ​ควบคุมศัตรูมะพร้าว

วันที่ 21 กรกฎาคม 2564  นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนแมลงหางหนีบ​จำนวน 84,000 ตัว​ ให้สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก​ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์​ ใช้โครงการควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าว ปีงบประมาณ 2564 เพื่อปล่อบควบคุมพื้นที่ระบาดแมลงดำหนามมะพร้าวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์​ 

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ถ่ายทอดความรู้การขยายพันธุ์และการใช้แหนแดงทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน

วันที่ 19 กรกฎาคม ​2564​ นายจิรยุทธ​  จิตราภิรมย์​ นำเกษตรกรเยี่ยมชมจุดเรียนรู้แหนแดง (พืชให้ธาตุไนโตรเจน)​ ถ่ายทอดความรู้การขยายพันธุ์และการใช้แหนแดงทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน​ ซึ่งแหนแดงจะขยายเป็นสองเท่าได้ภายใน​ 3-5 วัน​ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่​ในพื้นที่ 1 ไร่​จะให้ผลผลิตสดถึง 3 ตัน​(150กิโลกรัมแห้ง)​ซึ่งเป็นปริมาณไนโตรเจน​ได้ประมาณ​ 6.0-7.5 กิโลกรัมพร้อมทั้ง สนับสนุนพันธุ์แหนแดง​ ให้เกษตรกรปลูกผัก นางเพลินตา​วงศ์กรด 9/3​ หมู่ที่ 2​ ต.บางชนะ​ อ.เมือง​ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปขยายและใช้เป็นปุ๋ยเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้พืชผักเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีต่อเกษตรกรสนในสามารถขอรับได้ที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช​จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ติดตามการผลิตขยายไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช

วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 นายจิรยุทธ​  จิตราภิรมย์​ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ​ ร่วมกับนางสาว​สุรัตน์วดี​ ศรีเมือง​นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ​ จากกลุ่มอารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี​ ติดตามศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลท่าข้าม​ หมู่ที่ 3​ อำเภอพุนพิน​ ในการผลิตขยายไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยขยายในอาหารเทียม​ (ไข่ไก่​ 260 มิลลิลิตร​ ,น้ำมันหมู ​130​มิลลิลิตร​ ,น้ำสะอาด​ 260​ มิลลิลิตร​)​ผสมให้เข้ากัน​นำไปคลุกกับวัสดุคลุกอาหารซึ่งใช้ฟองน้ำฟองน้ำขนาด1เซนติเมตร​ จำนวน 4 แผ่น (40กรัม)​ตักแบ่งใส่ถุงจำนวน 20 ถุง​ ปิดถุงเจาะรูถุงภาชนะบรรจุ​แล้วนำนึ่งเป็นเวลา 1​ ชั่วโมง​ ทิ้งให้เย็นแล้วใส่หัวเชื้อ​ ​จำนวน 1 มิลลิลิตร (50,000ตัว) บ่มเพาะไว้ 7-10 วัน​สามารนำไปใช้ได้​ ทางศูนย์ใช้ในการจัดการศัตรูผัก​  เช่นหนอนกระทู้​ด้วงหมัดผัก​ ใช้อัตรา 5-10 ภาชนะเพาะเลี้ยงต่อไร่​ พ่นช่วงเย็นทุก​ 5-10 วัน​  **การใช้ไส้เดือนฝอยควบคุมแมลงศัตรูพืชควรพ่นให้ถูกตัวหนอนหรือแมลงมากที่สุด**

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เตรียมแมลงหางหนีบ​เพื่อสนับสนุนในโครงการผลิตแมลงหางหนีบป้องกันศัตรูมะพร้าว

วันที่ 14 กรกฎาคม 2564  นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เตรียมแมลงหางหนีบเพื่อสนับสนุนให้สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์​ประจำเดือนกรกฎาคม จำนวน 84,000 ตัว​ เพื่อใช้ป้องกันศัตรูมะพร้าว ในโครงการผลิตแมลงหางหนีบป้องกันศัตรูมะพร้าว  ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ติดตามแปลงพยากรณ์การระบาดศัตรูพืช​

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดตามแปลงพยากรณ์การระบาดศัตรูพืช​ (ทุเรียน)​ แปลงเกษตรกร​ของนายชัยศักดิ์​  ศรีเจริญสุข​  ณ หมู่ที่ 6​ ตำบลวัดประดู่​ อำเภอเมือง​สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ​แปลงพยากรณ์การระบาดศัตรูพืช ซึ่งใช้วิธีการจัดการแบบผสมผสาน​ ณ​ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช​ จังหวัดสุราษฏร์ธานี​ ตำบลท่าข้าม​ อำเภอพุนพิน​ จังหวัดสุราษฏร์ธานี​ พบการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ เข้าทำลายใบอ่อนทุเรียน แนะนำใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย  1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 40 ลิตร หรือสารสกัดสะเดา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หากพบการระบาดรุนแรงใช้ สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อเพลี้ยไก่แจ้ระบาดมาก เช่น บูโพรเฟซิน 40 % sc ซึ่งเป็นสารป้องกันกำจัดแมลงปากดูด ออกฤทธิ์เป็นสารยับยั้งการลอกคราบของตัวอ่อน ควบคุมการฟักไข่ ลดการวางไข่  พร้อมรายงานข้อมูลการระบาดผ่านระบบแอพพลิแคชั่น DOAE pest forecast ไปยังกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วเจ้าหน้าที่ศูนย์ ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการ หลักสูตร การทำแผ่นรังเทียมผึ้งโพรง ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีนายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิด ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สัมมนาเครือข่ายคณะกรรมการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนระดับเขต

วันที่ 12-13 กรกฎาคม 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วเจ้าหน้าที่ศูนย์ เข้าร่วมประชุมสัมมนาเครือข่ายคณะกรรมการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ระดับเขต ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยนางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรบรรยายและสาธิตเรื่อง การใช้เหยื่อพิษป้องกันกำจัดแมลงวันทองพริก ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

สำรวจการระบาดของโรคเชื้อราที่เกิดในแปลงพริกไทย

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน เข้าสำรวจการระบาดของโรคเชื้อราที่เกิดในแปลงพริกไทย พื้นที่ 2 ไร่ ของนางสารภี ชนะทัพ หมู่ที่ 1 ตำบลบางเดือน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจากการเข้าสำรวจพบบริเวณใบของพริกไทยมีอาการไหม้จากปลายใบ และบริเวณข้อต่อมีอาการไหม้สีดำ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Phytophthora sp. และบางใบมีอาการใบจุดบุ๋มลงไป มีลักษณะสีดำ และแผลเกิดเป็นวงสีน้ำตาลดำซ้อนกันอยู่อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. ทางศทอ.สฎ ได้แนะนำให้ใช้สารฆ่าเชื้อรา เมทาเลคซิลผสมกับแมนโคเซป อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในต้นที่พบอาการดังกล่าว และสนับสนุนเชื้อราไตรโครเดอร์มาเพื่อใช้ในการป้องกันในต้นที่ไม่พบอาการต่อไป