วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ในโครงการทหารพันธุ์ดี

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566  นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ติดตามโครงการทหารพันธุ์ดี โดยทางศูนย์ฯได้สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ให้กับเจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำการในโครงการทหารพันธุ์ดีโดยมีรายละเอียดดังนี้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาจำนวน 10 กิโลกรัม ณ  ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช




ติดตามการระบาดของศัตรูผัก พร้อมทั้งสนับสนุนสารชีวภัณฑ์

วันที่ 29 กันยายน  2566 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ติดตามพบการระบาดพบศัตรุผักเข้าทำลายเช่น เพลี้ยอ่อน  และได้ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดไปเบื้องต้น นอกจากนี้ทางศูนย์ฯจึงได้สนับสนุนสารชีวภัณฑ์   แมลงศัตรูธรรมชาติ  ให้กับนายอิภิวัฒน์ คุ้มภัยเจ้าของแปลงผัก ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนการใช้สารเคมีและทำการเกษตรอย่างยั่งยืนอีกด้วย ณ บ้านบุญฟาร์ม ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพลี้ยอ่อน ความสำคัญและลักษณะการทำลาย เพลี้ยอ่อนสองชนิดนี้เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญ ของพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลหลายชนิด ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอด ทำให้เกิดใบบิดเป็นคลื่น ทำให้ต้นพืชชะอักการเจริญเติบโต และยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ทำให้เกิดรคใบด่างในพริก มักระบาดช่วงอากาศแล้ง การป้องกันกำจัด 1.การกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก 2.หากพบเพลี้ยอ่อนระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง 3.ใช้สารสกัดสะเดา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ล. ฉีดพ่นช่วงเวลาตอนเย็น ทุก 3 วัน 3-4 ครั้งต่อเนื่อง เริ่มฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน 4.ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย 1 กก. ต่อน้ำ 40 ล. ฉีดพ่นช่วงเวลาตอนเย็น ฉีดให้ถูกตัวเพลี้ยอ่อน เริ่มฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน 5.ใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงลายจุด แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส 6.การใช้สารเคมีแนะนำ เช่น กลุ่ม 2Aฟิโพนิล 5%SC  อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ล. หรือ กลุ่ม 4A อิมิดาโคลพริด 10%SL อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ล. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน







 

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.สำรวจและติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว

 วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำรวจและติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว ณ แปลงนายวัน ไชยวงค์ พื้นที่ ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปลูกมะพร้าวน้ำหอม จำนวน 25 ไร่ โดยทางศูนย์ได้ลงติดตามการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ทางศูนย์ฯได้สนับสนุนแตนเบียนบราคอนและแมลงหางหนีบสีดำมะพร้าว ซึ่งแตนเบียนบราคอนนั่นเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของหนอนหัวดำมะพร้าว เข้าทำลายในระยะหนอนของหนอนหัวดำทำให้หนอนตาย โดยปล่อยอย่างต่อเนื่องทุก 15 วัน อย่างน้อย 16 ครั้งต่อเนื่องกัน ปล่อยแตนเบียนตัวเต็มวัย 200 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง ควรปล่อยช่วงตอนเย็น ส่วนแมลงหางหนีบสีดำมะพร้าวนั่น จะเข้าทำลายแมงดำหนามทุกระยะตั้งแต่ ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย แมลงหางหนีบสีดำมะพร้าวเป็นแมลงตัวห้ำที่เพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณง่ายสามารถนำไปปล่อย เพื่อควบคุมแมลงดำหนามและศัตรูมะพร้าวชนิดอื่น อัตราการปล่อยจะอยู่ที่ 8ตัว/ต้นซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดอัตราการปล่อย (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาด)









วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.ติดตามผลจัดทำแปลงทดสอบการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

วันที่ 25-26 กันยายน 2566 นายจิรายุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้่อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมนางสาวจุฬาภรณ์ นกสกุล  ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืชและเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่ผลจัดทำแปลงทดสอบการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โดยวันที่ 25 กันยายน 2566 ติดตามผลในแปลงทุเรียนของนายประทีป ทรงสิริ และนายเรวัฒน์ เมฆกล่อม  ส่วนในวันที่ 26 กันยายน 2566 นั้น นางสาวนิพวรรณ หมีทอง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักเกษตรจังหวัดชุมพรและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะร่วมติดตามแปลงทดสอบของนางสาวอุไรรัตน์ จันทับ  ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำวิธีการผลิตเห็ดเรืองแสงให้กับเกษตรกรอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งกับชับในเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อโรคอื่นที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งจะทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ณ แปลงเกษตรกรในโครงการ ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 









วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.ร่วมรับฟังนโยบายสำคัญกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันที่ 25 กันยายน 2566  นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ ร่วมรับฟังนโยบายสำคัญกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่นโยบายการส่งเสริมอาชีพ พืช ปศุสัตว์ ประมง และการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ผ่านทางระบบออนไลน์ facebook live ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี






เตือนการระบาดโรคใบติด หรือใบไหม้ ( Leaf Blight)


สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา 𝘙𝘩𝘪𝘻𝘰𝘤𝘵𝘰𝘯𝘪𝘢 𝘴𝘰𝘭𝘢𝘯𝘪
อาการของโรคมักพบที่ใบอ่อนก่อน เกิดแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลจะค่อยๆ ขยายตัวลุกลามแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อราจะเจริญลุกลามไปยังใบอื่นๆที่อยู่ติดกันโดยการสร้างเส้นใยยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรครุนแรงจะแห้ง ร่วงลงไปแตะติดกับใบข้างล่าง และเจริญเข้าทำลายใบเหล่านั้น จนเกิดโรคลุกลามไปหลายจุดในต้น ทำให้เห็นอาการใบไหม้เป็นหย่อมๆ และใบจะค่อยๆร่วงหล่นไปยังโคนต้น
การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นอยู่บริเวณใต้โคนและวัชพืชบางชนิด เมื่อฝนตก เชื้อราจะกระเด็นขึ้นมาโดยเม็ดฝน ติดตามใบทุเรียนที่อยู่ต่ำก่อน เกิดอาการแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และเจริญสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่ส่วนขยายพันธุ์ไปยังส่วนอื่นๆ หรือบางครั้งเชื้อก็ติดไปกับมดที่มีอยู่ทั่วไปในสวนทุเรียน ขึ้นไปยังส่วนบนๆของต้น เมื่ออากาศร้อนชื้น มีฝนตกเป็นระยะ
การป้องกันกำจัด
1.ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและมีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดี
เป็นการลดความชื้น ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค
2.ในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูงและมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบ
3.หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น นำไปทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คิวปรัสออกไซด์ 86.2% WG อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เฮกซะโคนาโซล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เพนทิโอไพแรด 20% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น


วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการวิจัยการเกษตร

วันที่ 21-22 กันยายน 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการวิจัยการเกษตร “ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร” เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการวิจัย ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยมี นายรพัทัศน์ อุ่นจิตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ และมอบแนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัย ณ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร








ศทอ.สฎ. จัดอบรม หลักสูตรพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่อารักขาพืชให้เป็นหมอพืชระดับพื้นที่ ปี 2566

 วันที่ 21-22 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดอบรม หลักสูตรพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่อารักขาพืชให้เป็นหมอพืชระดับพื้นที่ ปี 2566 ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยการอบรมนั้นเป็นการบรรยายเรื่องวิธีการจัดการควบคุมศัตรูพืช ด้วยวิธีผสมผสานหรือ IPM อาการที่ผิดปกติของพืช วิธีการใช้สารชีวภัณฑ์และแมลงศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช (เชื้อราไตรโคเดอร์มา , บิวเวอเรีย เมตาไรเซียม การเลี้ยงแมลงหางหนีบ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต เป็นต้น) ในวันที่ 22 กันยายน นั่นจะเป็นการให้เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่พร้อมรับเกษตรกร ณ แปลงผักบางท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายสมพล ไทยบุญรอด ประธานแปลงใหญ่เอื้อเฟื้ออาคารและสถานที่ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมและเกษตรกรที่มาขอรับบริการ จากนั่นเป็นการชี้แจงสรุปผลการอบรม พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมอบรม ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี