วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567

ประชุมเจ้าหน้าที่ครั้งที่ 4/2567 ประจำเดือนเมษายน 2567 ตามระบบส่งเสริมการเกษตร

วันที่ 29 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมประชุมประจำเดือนเมษายน ครั้งที่ 4/2567 โดยมีรายงานผลปฏิบัติงานประจำเดือน การเบิกจ่ายงบประมาณ ความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ เพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพตามระบบส่งเสริมการเกษตร ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ. ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีประจำเดือนเมษายน 2567

 วันที่ 26 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมประจำเดือนเมษายน 2567 หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางในจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ โดยมีนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ. เข้าร่วมงานรัฐพิธี "วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

วันที่ 25 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา ในงานรัฐพิธี "วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ประจำปีพุทธศักราช 2567 ณ อาคารศูนย์กลางการประชุมสัมมนาภาคใต้ตอนบน ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี






เตือน!!! เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันและมะพร้าวโปรดระวัง "หนอนปลอกเล็ก"(The Case Caterpillar)

ด้วยขณะนี้สภาพอากาศแห้งแล้ง เหมาะสมต่อการระบาดของหนอนปลอกเล็ก โดยหนอนปลอกเล็กจะเริ่มแทะผิวใบมะพร้าว หรือใบปาล์มน้ำมันผสมกับใยที่ขับออกมาจากปากนำมาสร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง จะแทะผิวใบ ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูขาดแหว่ง ถ้าเข้าทำลายรุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง หรือไม่ได้ผลผลิต



วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ.ร่วมกิจกรรมออกหน่วยให้บริการในคลินิกบริหารศัตรูพืช​ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

 วันที่ 24 มีนาคม 2567 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกิจกรรมออกหน่วยให้บริการในคลินิกส่งเสริมการเกษตร​ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ในพระราชานุเคราะห์​ สมเด็จพระบรมโอราสาธิราช​สยามมกุฎราชกุมาร โดยมีนายสมชาย หาญภักดีปฏิมา ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธาน ทั้งนี้มีเกษตรกรเข้ารับบริการจำนวน​ 54 ราย ณ โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ หมู่ที่ 3 ตำบลเขาใหญ่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ขอขอบคุณภาพ สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่











ศทอ.สฎ. ร่วมการประชุมเกษตรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ ระดับเขต ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 วันที่ 24 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมการประชุมเกษตรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ ระดับเขต ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อร่วมหารือการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย การติดตามความก้าวหน้า การดำเนินงานการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตร และร่วมกันแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน โดยมีนายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาเป็นประธาน ณ ห้องประชุมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำปากพนังตอนบน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช





ศทอ.สฎ.เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เวที2)

 วันที่ 23 เมษายน 2567 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เวที2) โดยเป็นการอภิปรายคณะเรื่อง ส่งเสริมการเกษตรอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ เป็นการประชุมผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฏ.เข้าร่วมประชุมประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง

วันที่ 23 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา มีเกษตรจังหวัดและผู้รับผิดชอบงานภัยแล้ง 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมประชุม ผ่านระบบอนนไลน์ Zoom Meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฏ.เข้าร่วมประชุมคลินิกงานคลัง

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางณัฐฐาภรณ์ เพชรทองขาว เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมประชุมคลินิกงานคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3/2567 เพื่อสร้างการรับรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการการปฏิบัติงาน รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานด้านการบริหารงานคลังของหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านระบบอนนไลน์ Zoom Meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี







วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฏ. เข้าร่วมประชุมเรื่องสร้างการรับรู้การป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

วันที่ 18 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เข้าร่วมประชุมเรื่องสร้างการรับรู้การป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting เพื่อรับมือป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในพื้นที่ต่อไป โดยมีวีธีป้องกันดังนี้
1.วีธีเขตกรรม กวาดบริเวณโคนให้โล่ง กำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการลดแหล่งหลบซ่อนตัวของตัวหนอนก่อนเข้าดักแด้ ตัวหนอนที่ออกมาจากเมล็ดจะใช้เวลา 7-10 วัน ก่อนที่จะสร้างดักแด้และใช้ดินห่อหุ้มเพื่อพักตัวในดินและฟักเป็นตัวเต็มวัยในฤดูกาลถัดไป
2.วิธีกล -เก็บผลที่โดนทำลายออกนอกแปลงเพื่อตัดวงจรชีวิตของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
-การใช้วัสดุห่อผลทุเรียน เช่น ถุงกระดาษ ถุงพลาสติกขาวขุ่น ถุงตาข่าย หรือถุง Magik growth เป็นต้น ในระยะพัฒนาผล 3-6 สัปดาห์ และควรพ่นสารกำจัดแมลง เช่น สารสกัดสะเดา เชื้อราบิวเวอเรีย หรือคาร์บาริล ก่อนการห่อผล
3.วิธีฟิสิกส์ -ใช้ควันไฟไล่ตัวเต็มวัยและรบกวนการผสมพันธุ์ในช่วงเวลาค่ำโดยใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดควันและใส่กำมะถันในระยะพัฒนาผล 2 - 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป
-ใช้กับดักแสงไฟเพื่อตรวจดูตัวเต็มวัยและกำจัดตัวเต็มวัย ตั้งแต่ 2 - 3 สัปดาห์ เป็นต้นไป โดยเฉพาะหลังฝนตกหนัก
4. ชีววิธี -การใช้เชื้อราเมตาไรเซี่ยม โดยสามารถใช้ได้ 2 วิธี ดังนี้ ใช้เชื้อราเมตาไรเซียมผสมปุ๋ยอินทรีย์หว่านลงดิน โดยใช้เชื้อราเมตาไรเซียมพร้อมใช้ 1 กก. ต่อปุ๋ยอินทรีย์ 50 กก. ผสมให้เข้ากัน หว่านให้ทั่วแปลง หรือใช้เชื้อราเมตาไรเซียมผสมน้ำพ่นลงดิน โดยใช้เชื้อเมตาไรเซียม1 กก. ต่อน้ำ 50 ลิตร ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำสปอร์ไปพ่นลงดินให้ทั่วแปลง หรือให้ผ่านระบบน้ำ โดยเริ่มใช้เชื้อราเมตาไรเซียมลงดิน ตั้งแต่ทุเรียนระยะดอกบานถึงระยะพัฒนาผล ทุก 15 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง หลังจากนั้น ทุก 30 วัน ติดต่อกันอีก 2 ครั้ง เพื่อให้เชื้อราเมตาไรเซียมดำรงชีวิตอยู่ในแปลง และสามารถกำจัดดักแด้ของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่อยู่ในดินได้
- ใช้เชื้อราบิวเวอเรียผสมน้ำพ่นบริเวณผลทุเรียน อัตราการใช้ 1 กก. ต่อน้ำ 40 ลิตร โดยเริ่มพ่นตั้งแต่ทุเรียนอยู่ในระยะหางแย้จนถึงระยะพัฒนาผล พ่นทุก 15 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง เพื่อป้องกันกำจัดผีเสื้อของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน และกำจัดหนอนที่ฟักออกมาจากไข่ก่อนเจาะเข้าไปในผลทุเรียน
5.ใช้สารสกัดสะเดา อัตรา 60-80 มล. ต่อ น้ำ20 ลิตร
6.การใช้สารเคมี การใช้สารเคมีระยะไข่และระยะหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
กลุ่ม 1 : ไดอะซินอน 60%EC, คาร์บาริล 85%WP, โพรฟีโนฟอส 50%EC
กลุ่ม 3 : เดลทาเมทริล 3%EC, แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 2.5%CS, ไซเปอร์เมทริน 35% w/v EC
กลุ่ม 6 : อีมาเมกติน เบนโซเอต 1.92%W/V EC










วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567

ข่าวเตือน ระวัง!!ทุเรียนขาดน้ำ

ในฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน และไม่มีฝน อาจส่งผลกระทบต่อทุเรียนขาดน้ำ ทั้งที่ยังไม่ให้ผลผลิต และให้ผลผลิตแล้ว อาการที่พบ คือ ใบทุเรียนแสดงอาการเหี่ยว ขอบใบจะมีสีเหลืองและไหม้จากปลายเข้ามาในที่สุดใบก็จะร่วง ซึ่งหาก ไม่มีการให้น้ำ ต้นทุเรียนจะตายทั้ง กิ่งหรือยืนต้นตาย

การป้องกัน

    1. คลุมโคนต้นทุเรียน เพื่อรักษาความชื้นของดิน และลดการระเหยน้ำจากดิน

    2. ตัดแต่งกิ่งที่ถูกทำลายโดยโรคหรือแมลง หรือกิ่ง ที่เบียดชิดกัน เพื่อลดการใช้น้ำของพืช

    3. ในกรณีที่ทุเรียนติดผลมาก แต่ไม่มีน้ำให้อย่าง เพียงพอ ควรตัดซอยผลทิ้งบ้างเพื่อให้ต้นไม้อยู่รอดได้

    4. หากมีแหล่งน้ำ ควรให้น้ำทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในระยะออกดอกจนถึงระยะผลแก่



ที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร 


วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฏ.ร่วมประชุมคณะทำงานประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรระดับเขต ครั้งที่ 1/2567

 วันที่ 9 เมษายน 2567 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมคณะทำงานประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรระดับเขต ครั้งที่ 1/2567 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ซึ่งประกอบด้วยการรายงานสถานการณ์การเขียนข่าว ผลการดำเนินการ และแผนการดำเนินการตามแนวทางอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร การขยายผลการดำเนินงานมีดีที่ศูนย์ปฎิบัติการ และแผนการประชาสัมพันธ์ในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี







ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่ให้บริการวินิจฉัยโรคพืชในแปลงยางพาราของเกษตรกร

วันที่ 9 เมษายน 2567 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตน พงษ์ ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ให้บริการวินิจฉัยโรคพืชในแปลงยางพาราของเกษตรกร ร่วมกับนางสาวอธิตญา รอดทองแก้ว นิติกรชำนาญการ เจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพุ และหน่วยร่วมบูรณาการ เพื่อหาสาเหตุการยืนต้นตายของต้นยางพารา ณ พื้นที่หมู่ที่1 ตำบลน้ำพุ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี






ศทอ.สฎ. ร่วมประชุมติดตามวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อรับมือสถานการณ์ภัยแล้งปี 2567

 วันที่ 9 เมษายน 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมติดตามวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อรับมือสถานการณ์ภัยแล้งปี 2567 โดยมีนายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาเป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งประชุมผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting จัดประชุมต่อเนื่องทุกวันอังคาร จนกว่าวสถานการณ์ภัยแล้งจะคลี่คลาย ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567

ศทอ.สฏ.ติดตามสำรวจโรคและแมลงศัตรูแหนแดง

วันที่ 3-5 เมษายน 2567 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ติดตามสำรวจโรคและแมลงศัตรูแหนแดง ในโครงการขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนสู่เกษตรกร เพื่อให้คำแนะนำการขยายพันธุ์ และการป้องกันศัตรูของแหนแดงให้สามารถเจริญเติบโตเป็นแม่พันธุ์ไว้ใช้ขยายในฤดูการทำนาปี เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของแหนแดง และผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ทำการศึกษาในพื้นที่แปลงนาพื้นที่เกาะยาวน้อย ซึ่งทางศทอ.สุราษฎร์ธานี ได้ติดตามสำรวจและเฝ้าระวัง สถานการณ์ศัตรูแหนแหนอย่างสม่ำสม่ำเสมอ ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และบ่อขยายของเกษตรกรสมาชิก ศดปช. จำนวน 32 ราย แหนแดงมีศัตรูที่สำคัญ เช่นหนอนผีเสื้อ หากเกษตรพบการระบาดสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้