เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

 เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Durain psyllid )





ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝐴𝑙𝑙𝑜𝑐𝑎𝑟𝑖𝑑𝑎𝑙𝑎 𝑚𝑎𝑙𝑒𝑦𝑒𝑛𝑠𝑖𝑠

วงศ์: Psyllidae

อันดับ: Hemiptera

ลักษณะการทำลาย

ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกิน น้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ (ใบเพสลาด) ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติเมื่อระบาดมาก ๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อน ของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำ ให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด



การป้องกันกำจัด

1.วิธีกล - วางกับดักกาวเหนียวสีเหลืองในระยะแตกใบอ่อน เพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย

2. เขตกรรม - ทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกันโดยฉีดพ่นยูเรีย

(46-0-0) ละลายน้ำ อัตราส่วน 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

3. ชีววิธี - อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพลี้ยไก่แจ้ เช่น แมลงช้างปีกใส

ต่อหลวง ต่อรัง แมงมุม ด้วงเต่าตัวห้ำ

ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย อัตราส่วน กก. ต่อน้ำ 40 ลิตร

ฉีดสารสกัดสะเดา อัตราส่วน 60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

4. การใช้สารเคมี คำแนะนำของราชการ

กลุ่ม คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร คาร์โบซัลแฟน 20 % EC อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร (สาร คาร์โบซัลแฟน ทางราชการไม่อนุญาติให้ต่ออายุทะเบียนแลัว)

กลุ่ม แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5 % EC อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน ครั้ง)

กลุ่ม 4 ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร, อิมิดาโคลพริด 70 % WG อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

เนื่องจากสารที่กล่าวมาข้างต้น เป็นคำแนะนำมานานกว่า 10 ปี ดังนั้นเกษตรกรสามารถเลือกใช้สารเคมีตามกลไกการออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่

กลุ่ม ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโพรคาร์บ โพรฟีโนฟอส ไตรอะโซฟอส ไดอะซีนอน พิริมิฟอส โพรไทโอฟอส ไตรคลอร์ฟอน

กลุ่ม ฟิโพรนิล

กลุ่ม เดลต้าเมทริน ไซเพอร์เมทริน อีโทเฟนพร็อก ไบเฟนทริน

กลุ่ม ไทอะมีทอกแซม โคลไทอะนิดิน ซัลฟอกซาฟลอร์ 

กลุ่ม อะบาเม็กติน อิมาเม็กตินเบนโซเอต

กลุ่ม ไพมีโทรซีน

กลุ่ม 13 คลอฟีนาเพอร์

กลุ่ม 14 คาร์เทปไฮโดรคลอไร

กลุ่ม 16 บูโพรเฟซีน

กลุ่ม 22 อินด็อกซาคาร์บ

กลุ่ม 23 สไปโรมีโซเฟน สไปโรเตตร้าเมท

กลุ่ม 28 ไซแอนทรานิลิโพรล 

กลุ่ม 29 ฟลอนิคามิด

และกลุ่มอื่นๆ ไวท์ออยล์ ปิโตรเลียมออยล์

โดยที่แต่ละกลุ่มไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 15 วัน แล้วเปลี่ยนไปใช้สารกลุ่มอื่นๆ เพื่อป้องกันการต้านทานของเพลี้ยไก่แจ้ต่อสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช

เอกสารอ้างอิง 

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร 2562. เอกสารวิชาการ  แมลง-ไร ศัตรูทุเรียน.กรุงเทพฯ : บริษัท นิวธรรมาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด. 

สุเทพ สหายา. 2561. รู้จักเรื่อง สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช. หจก. เฟรม-อัพดีไซน์. กรุงเทพฯ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น