วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมประชุมศูนย์จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน (War room) ติดตามสนับสนุนและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืชภาคใต้ ครั้งที่ 2/2566

 วันที่ 30 ตุลาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมศูนย์จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน (War room) ติดตามสนับสนุนและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืชภาคใต้ ครั้งที่ 2/2566 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดและอำเภอ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืช ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมี นางสุนิภา คีรีนารถ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาเป็นประธานการประชุม และนายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านพืชภาคใต้ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฏ.เข้าร่วมงานครบรอบ 10 ปี ตลาดเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 27 ตุลาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมจัดนิทรรศการสารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชลดการใช้สารเคมี ในงานครบรอบ 10 ปี ตลาดเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตรโดยใช้ตลาดนำการผลิต เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างมั่นคง ภายใต้สโลแกน เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย โดยมีนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ บริเวณลานจอดรถหน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี











วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ

 วันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ณ วัดกลางใหม่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี







ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่ติดตามให้คำแนะนำการดำเนินงานในโครงการขยายผลการผลิตและใช้ประโยชน์จากแหนแดงสู่เกษตรกร ประจำปี 2566


วันที่ 24-26 ตุลาคม 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่ติดตามให้คำแนะนำการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาวน้อยในโครงการขยายผลการผลิตและใช้ประโยชน์จากแหนแดงสู่เกษตรกร ประจำปี 2566 พร้อมทั้งสนับสนุนพันธ์แหนแดงเพื่อใช้ผลิตขยายในบ่อพ่อแม่พันธ์สำหรับขยายให้สมาชิกและขยายในแปลงนาต่อไป และเข้าร่วมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแหนแดงและการใช้ประโยชน์ โดยทีมวิทยากรจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา ณ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา








ศทอ.สฎ. ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางในจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ โดยมีนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ติดตามการระบาดแมลงดำหนามมะพร้าว

วันที่ 25 ตุลาคม 2566 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของศัตรูมะพร้าวของนายโสภณ มากชม เกษตรกร บ้านดอนกาย ตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 4ไร่ในการปลูกมะพร้าว จากการลงสำรวจพบว่ามีการเข้าทำลายของแมลงดำหนามมะพร้าว โดยแมลงดำหนามมะพร้าวนั่น ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะซ่อนอยู่กับยอดอ่อนที่เริ่มคลี่ หนอนวัย 1 จะแทะผิวใบด้านในที่ยังพับติดกัน เมื่อใบคลีออกทำให้ใบอ่อนมีรอยไหม้ ตัวเต็มวัยจะกัดทำลายและวางไข่ที่ใบอ่อน ทำให้ปลายใบอ่อนม้วนเป็นที่อาศัยของหนอนอยู่ภายใน ทางศูนย์ได้ให้คำแนะนำโดยการตัดยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทิ้งแล้วเผาทำลาย เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนาม หากใช้สารเคมีควรใช้ cartap hydrochloride 4% GR อัตรา 30 กรัมต่อต้น ใส่เป็นถุงสีชาติดไว้ที่ยอดอ่อน สำหรับต้นที่สูง 1 เมตรขึ้นไปเพื่อป้องกันการทำลายแมลงดำหนามมะพร้าวได้นาน 1 เดือน ส่วนต้นที่สูง 12 เมตรขึ้นไปได้แนะนำ สารอิมาเม็กตินเบนโซเอต อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อต้น โดยการเจาะมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 รู อยู่ด้านตรงข้ามกัน ลึก 10 เซนติเมตร ใส่สารรูละ 25 มิลลิลิตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที วิธีนี้จะป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวได้ไม่น้อยกว่า 2 เดือน (วิธีการนี้สามารถป้องกันกำจัดได้ทั้งด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอนหัวดำมะพร้าว)





วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. ร่วมพิธีวางพวงมาลาเพื่อน้อมเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 วันที่ 23 ตุลาคม 2566 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และ นายจิรยุทธ​ จิตราภิรมย์​ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมพิธีวางพวงมาลาเพื่อน้อมเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสนามศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ สารสกัดธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติในโครงการทหารพันธุ์ดีเริ่มต้นงบประมาณปี 2567

 วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมกับ นายณัฐยศ อมรกล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ จากสำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งสง ลงพื้นที่ติดตามโครงการทหารพันธุ์ดีเริ่มต้นงบประมาณปี 2567 ให้คำปรึกษา คำแนะนำในการปลูกพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชในโครงการ โดยทางศูนย์ฯได้สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ สารสกัดธรรมชาติ แมลงศัตรูธรรมชาติ และกากเมล็ดสะเดาบดให้กับเจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำการในโครงการทหารพันธุ์ดีโดยมีรายละเอียดดังนี้

1.เชื้อราไตรโคเดอร์มาจำนวน 10 กิโลกรัม
2.เชื้อราบิวเวอร์เรีย 3 กิโลกรัม
3.สารสกัดสะเดาจำนวน 30 ขวด
4.แมลงหางหนีบขาวงแหวน 3,000 ตัว
5.กากเมล็ดสะเดาบด 7.5 กิโลกรัม
ณ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช








วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมการประชุมคลินิกงานคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1/2566

 วันที่ 19 ตุลาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นางณัฐฐาภรณ์ เพชรทองขาว เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน เข้าร่วมการประชุมคลินิกงานคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบ Zoom Meeting เพื่อเป็นช่องทางการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินการใช้งบประมาณอย่างถูกต้อง และไปเป็นตามระเบียบ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. เข้าร่วมรับฟัง LIVE อบรมเชิงปฏิบัติการ "เรียนรู้การจัดการโรคและแมลงในทุเรียนด้วยชีวภันฑ์"

 วันที่ 18 ตุลาคม 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฏร์ธานี เข้าร่วมรับฟัง LIVE อบรมเชิงปฏิบัติการ "เรียนรู้การจัดการโรคและแมลงในทุเรียนด้วยชีวภันฑ์" ซึ่งจัดโดย ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผ่านระบบ face book live ซึ่งจัดที สวนคุณสันติ จิรเสาวภาคย์ ตำบลหนองตะพาน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง อบรมผ่านออนไลน์ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี






ศทอ.สฏ.เข้าร่วมอบรมหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อการเป็นผู้สอนงานที่ดี (Coach)

 วันที่ 18 ตุลาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ.เข้าร่วมอบรมหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อการเป็นผู้สอนงานที่ดี (Coach) ผ่านระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี






เตือนการระบาด โรคใบจุดสาหร่ายในปาล์มน้ำมัน

 

โรคใบจุดสาหร่ายในปาล์มน้ำมัน




โรคใบจุดสาหร่าย เกิดจากเชื้อสาเหตุ Phycopeltis sp. 

ลักษณะการทำลาย 

    เป็นจุดเล็กหรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (หากลุกลาม) บนใบ โดยจุดเล็กๆ ดังกล่าวจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเป็นระยะเวลาติดต่อกัน



การระบาดมากช่วงฤดูฝน เนื่องจากสปอร์ของสาหร่ายสามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางลมและฝน


ผลกระทบต่อปาล์มน้ำมัน 
    สาหร่ายดังกล่าวจะปกคลุมบนแผ่นใบย่อยปาล์มน้ำมัน ทำให้พื้นที่สังเคราะห์แสงของใบลดลง แต่ไม่ทำอันตรายแผ่นใบเหมือนราสนิม (ความแตกต่าง หากเป็นสาหร่าย สามารถทดสอบโดยปิดสก๊อตเทปบนแผ่น ใบย่อย และสามารถลอกแผ่นหรือจุด สาหร่ายออกมาได้ง่ายด้วยสก๊อตเทป โดยลักษณะผิวใบยังคงสภาพปกติ แต่หากเป็นราสนิม การปิดสก๊อต เทปบนแผ่นใบจะลอกราสนิมไม่ ออก)สำหรับปาล์มน้ำมันหรือพืช อื่นๆ ที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ มีความชื้น ในทรงพุ่มสูง ได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึง จะพบใบจุดสาหร่ายเกิดได้โดยง่าย จากสปอร์ของสาหร่ายที่แพร่ระบาด ไปยังใบอื่นๆ

การป้องกันกำจัด 
1. ติดตามสถานการณ์โรคจุดสาหร่ายในช่วงฝน โดยสำรวจสัปดาห์ละครั้ง 
2. รวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลาย 
3. หากพบอาการของโรคเพียงเล็กน้อย รีบจัดการตัดส่วนของใบย่อยดังกล่าวไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ของสปอร์ 
4. หากทางใบแน่นมากไป พยายามตัดแต่งทางใบแห้งออก เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีลมผ่าน เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม 
5. หากแผ่นใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะทางใบด้านล่าง ถูกปกคลุมด้วยสาหร่ายกว่าร้อยละ 30 แนะนำให้ใช้วิธีกล คือกำจัดทางใบดังกล่าวออก เพื่อลดการแพร่กระจาย 
***สำหรับคำแนะนำการใช้สารเคมี "คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร" ฉีดพ่นที่แผ่นใบ เป็นคำแนะนำเดียวกับการกำจัดโรคราสนิมในพืชอื่น และยังไม่มีงานวิจัยที่ใช้กับปาล์มน้ำมัน ซึ่งอาจ มีผลกระทบกับใบปาล์มน้ำมันได้ ดังนั้นหากการแพร่กระจายของจุดสาหร่ายไม่รุนแรงมากนัก ขอให้ใช้วิธีกล จัดการตัดแผ่นใบย่อยที่มีจุดสาหร่ายออก มากำจัดเพื่อลดการแพร่ระบาด หากระบาดรุนแรงขอให้เกษตรกรลองทดลอง ใช้กับบางทางใบของปาล์มน้ำมันบางต้น เพื่อศึกษาผลของสารเคมีดังกล่าวก่อน

 ที่มาศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี.