วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ประชุมเตรียมความพร้อมตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)

 




วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมประชุมเตรียมความพร้อมตามแผนการตรวจราชการและการขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับพื้นที่ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ผ่านระบบออนไลน์



วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ศทอ.สุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางในจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนายประเวศ ไทยประยูร เป็นประธานการประชุม 


วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโนยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ครั้งที่ 1/2565

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ เข้าร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ครั้งที่ 1/2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ ระบบ Zoom meeting โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย เป็นประธานในพิธีเปิดและให้นโยบาย เพื่อชี้แจงการดำเดินงานโครงการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโนยีการเกษตรด้านอารักขาพืชทั้ง 9 ศูนย์  ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี














ศทอ.สฎ เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเขตครั้งที่ 1 ประจำปี 2564

วันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเขตครั้งที่ 1 ประจำปี 2564 โดยมี นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานพิธีเปิดสัมมนาและมอบนโยบายการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Application Zoom เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด เขต และศูนย์ปฏิบัติการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานต่าง ๆ รวมทั้งเป็นเวทีร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นเร่งด่วน และเชื่อมโยงวิชาการจากแหล่งความรู้ไปเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี









วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าวของนางจันทรา แก้วเหล็ก  ต.ตลาดไชยา อ.ไชยา  จ.สุราษฎร์ธานี ทางศูนย์ได้ให้คำแนะนำโดยการตัดยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทิ้งแล้วทำลาย เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนามมะพร้าว พร้อมทั้งได้สนับสนุนแมลงหางหนีบซึ่ง เป็นแมลงตัวห้ำที่สามารถควบคุมแมลงดำหนาม สามารถกินหนอนได้ 6-10 ตัวต่อวัน และยังได้แนะนำสารเคมี cartap hydrochloride 4 % GR อัตรา 30 กรัมต่อต้น ใส่เป็นถุงสีชาติดไว้ที่ยอดอ่อน สำหรับต้นที่สูง 1 เมตรขึ้นไป ส่วนต้นที่สูง 12 เมตรขึ้นไปได้แนะนำ สารอิมาเม็กตินเบนโซเอต อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อต้น โดยการเจาะมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 รู อยู่ด้านตรงข้ามกัน ลึก 10 เซนติเมตร ใส่สารรูละ 15 มิลลิลิตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที



เข้าร่วมประชุมแนวทางการส่งเสริมและขยายผลงานวิจัยระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ และนายภาณุรักษ์ ประทับกอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมแนวทางการส่งเสริมและขยายผลงานวิจัยระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ผ่านระบบอนนไลน์ Application Zoom เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการนำวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาขยายผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ในปี 2565 ให้ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี











ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการวินิจฉัยศัตรูพืช

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการวินิจฉัยศัตรูพืชในระบบรายงานคลินิกพืช ซึ่งมีรายการการเกิดโรคใบติดในทุเรียน ในแปลงเกษตรกร เนื่องจากทุเรียนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคใบติดในช่วงระยะแตกใบอ่อนถึงระยะเพสลาด ประกอบกับช่วงเวลานี้เป็นช่วงฤดูฝนตกชุกมีความชื้นสูง ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรควรควรทำความเข้าใจในการเกิดโรคและหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อป้องกันกำจัดตามแนวทาง ดังนี้ โรคใบติดลักษณะอาการ ใบที่พบจะมีรอยคล้ายๆ ถูกน้ำร้อนลวก ขอบแผลไม่แน่นอน อาจเริ่มที่ปลายใบ กลางใบ หรือโคนใบแล้วลุกลามจนเป็นทั้งใบ และจะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุมแผ่ไปตามผิวใบ การเกิดโรคจะกระจุกเป็นหย่อมๆ ใบที่ถูกทำลายจะร่วงหล่นไปในที่สุด ถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับใบที่ปกติ ไม่ว่าจะเป็นใบที่อยู่ล่างๆ หรือใบที่อยู่เหนือกว่า ใบปกตินั้นก็จะเป็นโรคใบติดเช่นกัน

การป้องกันกำจัด

1.ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นสะสม

2.ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนให้เหมาะสม 

3.หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า เริ่มมีการระบาดของโรค ตัดส่วนที่เป็นโรค และเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก 

4.การจัดการโดยชีววิธี ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา :รำข้าว :ปุ๋ยหมัก อัตรา 1 : 4 : 100 หว่านให้ทั่วภายในทรงพุ่มทุเรียน1-5 ปี หว่าน 2-3 กิโลกรัมต่อต้น ทุเรียน 5 ปี ขึ้นไปหว่าน 5 กก.ต่อต้น  และใช้ไตรโคเดอร์มา อัตรา 1 กกต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มและพื้นดินเพื่อป้องกันโรค

5. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชวาลิดามัยซิน 3 % เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซะโคนาโซล5% เอสซี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 10 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น 







 

ร่วมทำปุ๋ยหมักไว้ใช้ในแปลงพยากรณ์ศัตรูพืช

วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี นำทีมงานบุคลากรของศูนย์ฯ ตัดต้นปอเทืองที่ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม พร้อมให้ผึ้งและชันโรง ดูดน้ำหวานจากดอก เมื่อดอกปอเทืองเริ่มจะหมดจึงตัดต้นปอเทือง และหญ้าไปใช้ทำปุ๋ยหมัก สำหรับใช้ปรับปรุงบำรุงดินในสวนทุเรียน ลองกอง มังคุด ซึ่งเป็นแปลงพยากรณ์ศัตรูพืชของศูนย์ฯ ต่อไป

ทั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้การจัดการดินและปุ๋ย เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ทั้ง 9 ศูนย์ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 การทำปุ๋ยหมักใช้เองจึงเป็นกิจกรรมที่สามารถเป็นต้นแบบให้เกษตรกรที่เข้ามาเยี่ยมชมและใช้บริการของศูนย์ได้เป็นอย่างดี



วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ศทอ.สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมสัมมนาชี้แจงโครงการด้านอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย​ ปีงบประมาณ​ 2565​

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 และนายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมสัมมนาชี้แจงโครงการด้านอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย​ ปีงบประมาณ​ 2565​ กิจกรรมย่อยการสัมนาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอารักขาพืช รูปแบบออนไลน์  ผ่านระบบ zoom meeting โดยมีนายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการสัมมนา และมอบนโยบาย เพื่อให้เจ้าหน้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีความเข้าใจในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมอย่างชัดเจนและดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด​ ณ ห้องประชุม ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ให้บริการเกษตรกรด้านอารักขาพืช

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้บริการเกษตรกรด้านอารักขาพืช ณ คลินิกพืช ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีเกษตรกรมาขอคำแนะนำการจัดการศัตรูพืช เนื่องด้วยช่วงนี้มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน ซึ่งเสี่ยงในการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกทุเรียน จะเข้ามาขอคำแนะนำการป้องกันโรค โดยทางศูนย์ได้แนะนำให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา ซึ่งสามารถใช้ในการป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้ดี เช่น โรครากเน่าโคเน่า เป็นต้น หากเกษตรกรมีปัญหาศัตรูพืชและอาการผิดปกติของพืช สามารถขอคำแนะได้ที่คลินิกพืช ทุกวันในเวลาราชการ

**นำตัวตัวอย่างพืชและหรือรูปภาพอาการผิดปกติมาด้วย**เพื่อประกอบการวินิจฉัยและให้คำแนะนำ พร้อมทั้งสนับสนุนเชื้อจุลินทรีย์ แมลงศัตรูธรรมชาติและสารสกัดพืชสมุนไพร ในการป้องกันกำจัดที่เหมาะสม





ตรวจคุณภาพชีวภัณฑ์

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายภาณุรักษ์ ประทับกอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการสุ่มตรวจคุณภาพชีวภัณฑ์ของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ภายใต้โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชีวภัณฑ์อย่างง่าย โดยรับตัวอย่างชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา จากศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร นำมาทดสอบหาค่าความเข้มข้นของสปอร์เชื้อราไตรโคเดอร์มา และทดสอบหาอัตราการงอกของเชื้อ พร้อมทั้งทดสอบการปนเปื้อนจากเชื้ออื่น แล้วจึงรวมรวบผลการทดสอบเพื่อแจ้งกลับไปให้แก่ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนทุ่งตะโก ต่อไป ณ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี