วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565

ร่วมสัมมนาถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอารักขาพืช

วันที่ 28 มกราคม 2565  นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เข้าร่วมสัมมนาถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอารักขาพืช โดยมี นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวให้นโยบาย รูปแบบออนไลน์ zoom meeting เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านอารักขาพืช และพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้มีทักษะ และทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการด้านการจัดการศัตรูพืช ตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกรให้แก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี







วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day)

วันที่ 27 มกราคม 2565 นายจิรายุทธ จิตราภิรมย์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพลนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  เข้าร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) โดยภายในงานจะจัดแสดงเรื่องการจัดการศัตรูพืช ซึ่งเป็นฐานที่สาธิตการสอนทำสารสกัดสะเดา พร้อมทั้งแนะนำวิธีการใช้ และให้ความรู้เรื่องสารชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย เมธาไรเซียมแมลงหางหนีบ มวนพิฆาต และมวนเพชรฆาต  ณ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบผสมผสานบ้านเปร็ต หมู่7 ตำบลขนอม อำเภอขนอม  จังหวัดนครศรีธรรมราช






ศูนย์อารักขาพืชฯ เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการ

 


วันที่ 27 มกราคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือนมกราคม 2565 ผ่านระบบ Zoom Meeting จากห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของจังหวัด และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่รัฐบาลกำหนด ในส่วนของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เบิกจ่ายเกินเป้าหมาย และเป็นไปตามระเบียบอย่างเคร่งครัด


วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

อบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอารักขาพืช

วันที่ 26 มกราคม 2565 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมอบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอารักขาพืช หลักสูตรติดอาวุธทางปัญญาเพื่อพัฒนานักอารักขาพืช เรื่องการวินิจฉัยโรคข้าว​ โดยวิทยากร​ นางวิชชุดา รัตนกาญจน์ อดีตผู้เชี่ยวชาญการจัดการศัตรูข้าว กรมการข้าว​ เพื่อให้เจ้าหน้ามีทักษะในการวินิจฉัยศัตรูพืชในพื้นที่ ผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting   ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี



วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ. เข้าร่วมโครงการอบรมการบริหารจัดการทุเรียนทั้งระบบ

วันที่ 25 มกราคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนางนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมโครงการอบรมการบริหารจัดการทุเรียนทั้งระบบ จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสวนทุเรียนทั้งระบบและเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทุเรียนได้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด โดยทางศูนย์ฯจัดฐานการเรียนรู้การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และสาธิตการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา มีเกษตรกรเข้าร่วมงานกว่า 180 คน  ห้องบรรจงแกรนด์บอลรูมโรงแรมบรรจงบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี



ลงพื้นที่วินิจฉัยศัตรูปาล์มน้ำมันผ่านการดำเนินงานคลินิกพืช

วันที่ 25 มกราคม 2565​ นายจิรยุทธ​ จิตราภิรมย์​ และนายปัญจ์ชิเน​ เชื้อชาญพล​ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี​ ลงพื้นที่วินิจฉัยศัตรูปาล์มน้ำมันผ่านการดำเนินงานคลินิกพืช​ ผลการลงพื้นที่พบการระบาดของหนอนปลอกทำลายปาล์มน้ำมันในพื้นที่ตำบลมะลวน​ อำเภอพุนพิน​ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ​

ลักษณะอาการของหนอนปลอกจะกัดกินผิวใบและนำมาห่อหุ้มตัวเอง​ จะทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาลและจะกัดทะลุใบเป็นรูและขาดแหว่งถ้ารุนแรงจะเห็นทางใบเป็นสีน้ำตาลแห้งทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง

การแพร่ระบาด

อาศัยแรงลมพัดพาหนอนปลอกขนาดเล็กซึ่งห้อยตัวลงมาแกว่งไกวไปตามลม

การป้องกันกำจัด

1.ตัดแต่งทางใบที่โดยทำลายและพบตัวหนอนปลอกทำลายทิ้งหรือใช้กับดักแสงไฟล่อเพศผู้มาทำลาย

2.หากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมี เช่น​ ไซเปอร์เมททริน​  หรือ​ คาร์บาริล

หรือใช้สารเคมีผสมประเภทดูดซึมและสัมผัสตายเช่น

1.ไทอะมีทอกแซม+แลมบ์ดาไซฮาโลทริน

2.คลอร์แรนทรานิลิโพรล+ไทอะมีทอกแซม

3.ฟลูเบนไดเอไมด์+ไทอะโคลพริด

4.โพรฟีโนฟอส+ไซเปอร์เมททริน​ เป็นต้น









ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน

วันที่ 25 มกราคม 2565 ​นายจิรยุทธ​ จิตราภิรมย์​ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ​ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลตะกุกใต้​ ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมการผลิตขยายชีวภัณฑ์​ ไตรโคเดอร์มา​ โดยทางกลุ่มมีความต้องการที่จะเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์โดยการอบแห้งและบดเป็นผง​เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้สะดวก​ จึงได้ประสานทางศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี​ ในการตรวจสอบคุณภาพเชื้อจุลินทรีย์เพื่อที่จะได้นำข้อมูลไปขยายผลในการพัฒนาการผลิตจุลินทรีย์ของกลุ่มต่อไป





วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ ร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ครั้งที่ 2/2565

วันที่ 24 มกราคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชครั้งที่ 2/2565 โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ทั้ง 9 แห่ง ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Zoom Meetings นอกจากนี้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอารักขาพืช ของสำนักงานส่งเสริมพัฒนาการเกษตรเขต ทั้ง 6 เขต เข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน โดยการประชุมจะเป็นเรื่องติดตามเพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชของแต่ละศูนย์ฯ และร่วมกันหารือแนวทางการบริหารจัดการและควบคุมโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี



วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2565

เตือนเกษตรกรระวังด้วงแรดทำลายปาล์มน้ำมัน

 


นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ในวันที่ 22 มกราคม 2565 ได้ออกติดตามสถานการณ์การระบาดศัตรูพืช ในพื้นที่อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบร่องรอยการทำลายของด้วงแรดในปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ที่ตำบลลำพูน   ตัวเต็มวัยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด  

แหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด แหล่งผสมพันธุ์และวางไข่ซึ่งด้วงแรดใช้เป็นแหล่ง อาหารของหนอนวัยต่างๆ จนเข้าระยะดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย ได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้นหรือตอของต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ซากพืชที่เน่าเปื่อยเช่น ซากเปลือกมะพร้าว และทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ เป็นต้น 

รูปร่างลักษณะ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ มีรูปร่างลักษณะและชีวประวัติคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันที่ขนาดของลำตัว และขอบของแผ่นปกคลุมด้านหลังของส่วนอกซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันเล็กๆ โดยด้วงแรดชนิดใหญ่มี 3 ซี่ ขณะที่ด้วงแรดชนิดเล็กมี 2 ซี่ไข่ มีลักษณะกลมรี สีขาวนวล มองเห็นได้ชัด ขนาดกว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 3-4 มิลลิเมตร เมื่อใกล้ฟักไข่จะมีสีน้ำตาลอ่อน ไข่ถูกวางลงลึกไปประมาณ 5-15 เซนติเมตร ในแหล่งขยายพันธุ์ที่ผุพัง หนอน เมื่อฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ มีลำตัวสีขาว ขนาด 2x7.5 มิลลิเมตร หัวกะโหลกสีน้ำตาลอ่อน กว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร มีขาจริง 3 คู่ ด้านข้างลำตัวมีรูหายใจจำนวน 9 คู่ เมื่อหนอนกินอาหารแล้วผนังลำตัวจะมีลักษณะโปร่งใส มองเห็นภายในสีดำ หนอนเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 60-90 มิลลิเมตร

ดักแด้ เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหารและสร้างรังเป็นโพรง หนอนจะหดตัวอยู่ภายในเป็นเวลา 5-8 วัน จึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นดักแด้สีน้ำตาลแดง ขนาด 22x50 มิลลิเมตร สามารถแยกเพศได้ โดยดักแด้เพศผู้สามารถมองเห็นส่วนที่เป็นระยางค์คล้ายเขายื่นยาวชัดเจนกว่า ของเพศเมีย

ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งสีดำ เป็นมันวาว ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง มีขนาดกว้าง 20-23 มิลลิเมตร ยาว 30-52 มิลลิเมตร สามารถแยกเพศได้ โดยตัวเต็มวัยเพศผู้ส่วนหัวมีเขาลักษณะคล้ายเขาแรด ยาวโค้งไปทางด้านหลังเล็กน้อย เพศเมียมีเขาสั้นกว่า และบริเวณท้องปล้องสุดท้ายของเพศเมีย มีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่นกว่าของเพศผู้

การป้องกันกำจัดด้วงแรด

1.  การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม คือการกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ลงทุนน้อย และสะดวกเพราะอยู่บนพื้นดิน สามารถกำจัดไข่ หนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ไม่ให้เพิ่มปริมาณได้ โดยยึดหลักปฏิบัติดังนี้

1.1 เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน

1.2 เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร

1.3 ถ้ามีความจำเป็นต้องกองมูลสัตว์นานเกินกว่า 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง หรือนำใส่ในถุงปุ๋ยผูกปากให้แน่นและนำไปเรียงซ้อนกันไว้

2.  การควบคุมโดยวิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน ตามโคนทางใบ หากพบรอยแผล เป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดเสีย

3.  การควบคุมโดยใช้กับดักล่อฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัย และนำมาทำลาย

4.  การควบคุมโดยชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวและเชื้อไวรัสช่วยทำลายหนอนและตัวเต็มวัยด้วงแรด

ทั้งนี้หากเกษตรกรได้พบเห็นการระบาดของศัตรูพืช ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร หรือเกษตรอำเภอในพื้นที่ของท่าน เพื่อหาแนวทางในการป้องกันกำจัดก่อนที่จะขยายลุกลามไปในวงกว้าง ต่อไป นายณัทธร กล่าวท้ายสุด

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565

อบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอารักขาพืช

วันที่ 21 มกราคม 2565 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมอบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านอารักขาพืช หลักสูตรติดอาวุธทางปัญญาเพื่อพัฒนานักอารักขาพืช เรื่องการวินิจฉัยแมลงศัตรูพืช​ โดยวิทยากร​ ผศ.ดร.เบญจคุณ​ แสงทองพราว​ จากมหาลัยเกษตรศาสตร์​ เพื่อให้เจ้าหน้ามีทักษะในการวินิจฉัยศัตรูพืชในพื้นที่ผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี