วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ.รับฟังการนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพประจำภาคเรียนที่ 2/2565

วันที่ 28 ธันวาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ รับฟังการนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพประจำภาคเรียนที่2/2565 ระหว่าง วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ถึง 29 ธันวาคม 2565 ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 4 ราย ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี








วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ. เข้าร่วมประชุมติดตามการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่าน ในโครงการฯ ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1

วันที่ 27 ธันวาคม 2565 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมติดตามการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการมือส่วนร่วมของชุมชน ในโครงการฯ ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง (รูปแบบออนไลน์)ครั้งที่ 1 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานส่งเสริมการดำเนินการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ (action plan) ของแต่ละประเทศ เพื่อการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้านการจัดการศัตรูพืช โดยมีโดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  เป็นประธานการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี










วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ. จัดอบรมกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน

 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม จัดอบรมกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ซึ่งเป็นโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก) โดยจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง การเพาะเลี้ยงแมลงหางหนีบและการผลิตขยายมวนเพชฌฆาต ณ ศาลาประชุมหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี









ศทอ.สฎ.ให้การต้อนรับคณะอาจารย์จากสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

 วันที่ 23 ธันวาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ ฯได้ให้การต้อนรับคณะอาจารย์จากสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ในการนิเทศนักศึกษาฝึกงานจำนวน 4 คน โดยได้พบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในการฝึกปฏิบัติงานต่อไป ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เตือนการระบาดโรคราน้ำค้างในโหระพา

โรคราน้ำค้างในโหระพา เชื้อสาเหตุ รา Peronospora sp.



อาการของโรค
เชื้อราสามารถเข้าทำลายโหระพาได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ส่วนมากทำลายที่ใบ โดยใบที่ถูกทำลาย ระยะแรกด้านบนใบเป็นสีเหลือง บริเวณแผลมักจำกัดด้วยเส้นใบบางครั้งเห็นแปลเป็นรูปเหลี่ยม ด้านใต้ใบ บริเวณแผลพบเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มปนดำปกคลุมทั่วแผล เมื่อเชื้อราเพิ่มปริมาณมากขึ้นใบจะเหลืองทั้งใบและแห้งตาย โดยเฉพาะในระยะกล้าหรือต้นเล็กจะแห้งตายทั้งต้น
วงจรการเกิดโรคและการแพร่ระบาด
เชื้อราชนิดนี้แพร่กระจายโดยติดไปกับเมล็ดพันธุ์ หรือกระแสลม โดยเมื่อสปอร์แก่จะหลุดออกจาก้านสปอร์ได้ง่ายและลมสามารถพัดพาไปได้ไกล ๆ เมื่อตกลงบนใบหรือส่วนของพืชที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสปอร์จะงอกและเส้นใยเจริญเข้าไปในเซลล์หรืออยู่ระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อพืช และสร้างเส้นใยพิเศษสำหรับดูดกินอาหารจากพืช
พืชอาศัย โรคนี้เกิดกับพืชหลายชนิดเช่น โหระพา สระแหน่ กะเพรา แมงลัก มินต์



การป้องกันกำจัด
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค โดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่พบการระบาดของโรค
2. จัดการเมล็ดก่อนปลูกโดยการแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา โดยใช้เชื้อสด อัตรา 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ10 มิลลิลิตร หรือคลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล
3. ปลูกพืชไม่ถี่หรือมีจํานวนต้นหนาแน่นเกินไป เพื่อให้เกิดการถ่ายเทและระบายอากาศซึ่งจะช่วยลดความชื้นภายในแปลงและต้นพืช
4. การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันการระบาดและลดความเสียหายจากโรค เช่น กลุ่ม 4 เมตาแลกซิล กลุ่ม 21 ไซยานามิด กลุ่ม 22 อีทาบ๊อกแซม กลุ่ม 40 ไดเมโทมอร์ฟ กลุ่ม P07(33) ฟอสอีทิล อลูมิเนียม, ฟอสฟอนิก เอซิด พ่นทุก 3-5 วัน จนกว่าการระบาดจะลดลง การพ่นกดหัวฉีดให้ต่ำและหงายหัวฉีดสอดเข้าไปใต้ใบไปด้วย เพราะเชื้อราสร้างสปอร์บริเวณใต้ใบ
5. หลังการเก็บเกี่ยวเก็บเศษซากพืชออกจากแปลงให้หมดเพื่อกำจัดแหล่งอาศัยของเชื้อสาเหตุ โดยการเผาหรือเก็บใส่ถุงพลาสติกตากแดดนานหลายวันเพื่อทำลายเชื้อสาเหตุ
ลิ้งค์(คลิก)

เอกสารอ้างอิง
อรพรรณ วิเศษสังข์. 2553. โรคราน้ำค้างในโหระพา. วารสารเคหการเกษตร ปีที่ 34 (พ.ค. 2553) : หน้า 138-141, 150
กลุ่มวิจัยโรคพืช. 2554. โรคราน้ำค้าง: พืชตระกูลแตง (น.60) ผักตระกูลกะหล่ําและตระกูลผักกาด (น.104) ในคู่มือโรคผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. สํานักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช, กรมวิชาการเกษตร. 153 น.



ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของโรคราน้ำค้างในโหระพา

 วันที่ 22 ธันวาคม 2565 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของโรคราน้ำค้างในโหระพาแปลง นายสมพล ไทยบุญรอด ประธานแปลงใหญ่ พร้อมทั้งทางศูนย์ฯได้สนับสนุน เชื้อราไตรโคเดอร์มาพร้อมใช้สำหรับป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา ณ แปลงผักบางท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี









ศทอ.สฎ. ร่วมให้บริการเกษตรกรด้านการอารักขาพืช ในโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปี 2566

วันที่ 22 ธันวาคม 2565 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวจีรวรรณ ศาสนัส เจ้าพนักงานธุรการ ร่วมให้บริการเกษตรกรด้านการอารักขาพืช ในโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ประจำปี 2566 ณ วัดถ้ำสนุก ตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยมีนายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดงาน มีเกษตรกรใช้บริการในส่วนของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 70 ราย







ศทอ.สฎ. จัดอบรมกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน

 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอไชยา จัดอบรมกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ซึ่งเป็นโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก) โดยจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง ศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลทุ่ง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี









วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ. จัดกิจกรรมโครงการการฝึกอาชีพ "เกษตรในสังคมเมือง" หลักสูตร :การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์  ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวเปิดกิจกรรมและให้การต้อนรับเกษตรกรฝึกอบรมการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา พร้อมทั้งนางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สาธิตการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรคพืช ซึ่งเป็นเชื้อราชั้นสูงเจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช วัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ มีกลไกการแข่งขันกับเชื้อราสาเหตุโรคพืช อีกทั้งชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค  ใช้ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน โรคใบติด ใรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน ขั้นตอนในการผลิตขยายเชื้อต้องระวังเรื่องความสะอาด การบ่มเชื้อในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ณ อาคารวิทยาศาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช  จังหวัดสุราษฎร์ธานี