วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมงานรัฐพิธี “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า”

 วันที่ 31 มีนาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องใน “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีถวายความเคารพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารศูนย์กลางการประชุมสัมมนาภาคใต้ตอนบน ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลศัตรูปาล์มน้ำมัน

วันที่ 30 มีนาคม 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ  ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลศัตรูปาล์มน้ำมัน เพื่อให้บริการวินิจฉัยศัตรูพืชแก่เกษตรกรในการดำเนินงานคลินิกพืช ณ แปลงปาล์มน้ำมัน นายสิริ  คงชนะ  เกษตรหมู่ที่ 2 ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งพบการระบาดของด้วงแรด เข้าทำลายปาล์มน้ำมันอายุ 1-2 ปี

ลักษณะอาการ 

ตัวเต็มวัย บินขึ้นไปกัดเจาะบริเวณโคนทางใบหรือยอดอ่อนของปาล์ม รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้

คำแนะนำในการป้องกันกำจัดด้วงแรด มีดังนี้

-วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดแปลงเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เช่น กองปุ๋ย ซากปาล์มเก่า ส่วนของลำต้นที่โค่นทิ้งไว้ ควรเผาทำลาย หรือนำมารวมกันไว้ ปล่อยให้ผุสลายล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ ด้วงจะวางไข่จากนั้นให้กำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรด  

-การใช้กับดักฟีโรโมนด้วงแรด 

-การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ใส่ไว้ตามกองปุ๋ยคอก หรือซากปาล์มเก่า สร้างร่มเงาเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เพื่อให้เชื้อเข้าทำลายด้วงแรด ซึ่งเชื้อจะทำลายด้วงแรดทุกระยะการเจริญเติบโต แต่จะสามารถทำลายด้วงแรดได้ดีในระยะหนอน ซึ่งเป็นการตัดวงจรชิวิตของด้วงแรด

-การใช้สารเคมี  ใช้สารฆ่าแมลง ไดอะซินอน 60% EC อัตรา 50-80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC  vy9ik 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอปาล์มน้ำมันตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียก โดยใช้ปริมาณ 1- 1.5 ลิตรต่อต้น  ทุก 15 - 20 วัน ควรใช้ 2-3 ครั้ง ในช่วงระบาด
















ศทอ.สฎ.ร่วมประชุมคณะทำงานประชาสัมพันธ์ระดับเขต ครั้งที่ 1/2566

 วันที่ 30 มีนาคม นายสุทธิ์ศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการเข้าร่วมประชุมคณะทำงานประชาสัมพันธ์ระดับเขต ครั้งที่ 1/2566 เพื่อขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน ให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว ทันเหตุการณ์และเป็นเอกภาพ การเฝ้าระวังที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร หรือข้อมูลข่าวสารเชิงลบที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงาน รวมทั้งร่วมให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพื่อสร้างการรับรู้ ชี้แจงทำความเข้าใจสื่อมวลชน โดยการประชุมนั้นจะมีการทำตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2566 รอบที่ 2 และจัดทำแผนประชาสัมพันธ์กรมส่งเสริมการเกษตร ไตรมาสที่ 3 (เมษายน-มิถุนายน 2566) เป็นการประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.สำรวจและติดตามผลสนับสนุนแตนเบียนบราคอนในศัตรูมะพร้าว

 วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำรวจและติดตามผลสนับสนุนแตนเบียนบราคอนเพื่อป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ณ แปลงนายวัน ไชยวงค์ พื้นที่ ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปลูกมะพร้าวน้ำหอม จำนวน 25 ไร่ โดยทางศูนย์ฯได้ลงติดตามผลการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวพบว่ามีการระบาดลดลงเป็นอย่างดี ซึ่งทางศูนย์ฯจะสนับสนุนแตนเบียนบราคอนในครั้งต่อไป







ศทอ.สฎ.เข้าร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาศักยภาพการให้บริการคลินิกพืชสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์เครือข่าย

วันที่ 29 มีนาคม 25666 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนบย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาศักยภาพการให้บริการคลินิกพืชสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์เครือข่าย ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เป็นประธานการประชุม เพื่อชี้เเจงการดำเนินงานหมอพืชชุมชน ในพื้นที่นำร่อง 38 จังหวัด







วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

ข่าวเตือนภัยการระบาดเพลี้ยแป้งในทุเรียน

เพลี้ยแป้ง



รูปร่างลักษณะ และวงจรชีวิต
เพลี้ยแป้งเพศเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสีเหลืองอ่อน หรือชมพูลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัวอยู่ ไข่เป็นกลุ่มจำนวนไข่แต่ละกลุ่ม 100-200 ฟอง เพศเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องเพศเมีย ระยะไข่ ประมาณ 6-10 วัน ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีเหลืองอ่อน ไม่มีผงสีขาว ตัวอ่อนจะคลานออกจากกลุ่มไข่เพื่อหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่ออยู่อาศัย เพศเมียมีการลอกคราบ 3 ครั้ง และไม่มีปีก ส่วนเพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย เพศเมียจะวางไข่หลังการลอกคราบครั้งที่ 3
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยแป้งระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนมี ดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดแดง และมดดำช่วยคาบพาไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืชส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น และชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวานออกมา เป็นเหตุให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ ถ้าเพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนผลเล็กจะทำให้ผลแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าเป็นทุเรียนผลใหญ่จะไม่มีความเสียหายต่อเนื้อทุเรียน แต่ทำให้คุณภาพของผลทุเรียนเสียไป
การป้องกันกำจัด
1.อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติด้วงเต่าในวงศ์ Coccinellidae เป็นแมลงห้ำ 3 ชนิด คือ Cryptolaemus montrouzieri, Scymnus sp. และ Nephus sp.



2.หากพบเพลี้ยแป้งระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง
3.เมื่อพบเพลี้ยแป้งปริมาณน้อยบนผลทุเรียนใช้แปลงปัด หรือใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุด หรือการใช้น้ำผสมไวท์ออยล์ อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยในการกำจัดเพลี้ยแป้ง
4.เนื่องจากเพลี้ยแป้งแพร่ระบาดโดยมีมดพาไป การป้องกันโดยใช้ผ้าชุบสารฆ่าแมลง เช่น มาลาไทออน 83% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาบาริล 85% WP อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พันไว้ตามกิ่งสามารถป้องกันไม่ให้มดคาบเพลี้ยแป้งไปยังส่วนต่าง ๆ ของทุเรียน และต้องชุบสารฆ่าแมลงซ้ำทุก 10 วัน หรือการพ่นสารฆ่าแมลงไปที่โคนต้น จะช่วยป้องกันมด
5.การใช้สารเคมีควรใช้กลุ่มออกฤทธิ์แบบดูดซึม แทรกซึม ไอระเหย ร่วมกับไวท์ออยล์ ปิโตเลียมออยล์ จะช่วยให้เสริมฤทธิ์ในการกำจัดให้ดีขึ้น สารที่แนะนำ กลุ่ม 1B อะซีเฟท ไดเมทโธเอท โอเมทโธเอท ไดคลอวอส พิริมิฟอสเมทิล ไดอะซีนอน กลุ่ม 2B ฟิโพนิล กลุ่ม 3A อะมิดาโคลพริด กลุ่ม 4C ซัลฟอกซาฟลอร์ กลุ่ม 9B ไพมีโทรซิน กลุ่ม 16 บูโพรเฟซิน กลุ่ม 29 ฟลอนิคามิด กลุ่มสารน้ำมัน ไวท์ออยล์
ลิ้ง:(คลิก)







ศทอ.สุราษฎร์ ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดฯ ประจำเดือนมีนาคม 2566

 

วันที่ 28 มีนาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือนมีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยมี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม




วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงศัตรูพืช


วันที่ 27 มีนาคม 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงศัตรูพืชในแปลงผักบางท่าข้ามเพื่อเตรียมทดสอบในงานวิจัยด้านดินและปุ๋ย และทางศูนย์ยังลงพื้นที่ติดตามในแปลงผักของนายสุเทพ  ทองภักดี  พบว่ามีการเข้าทำลายของด้วงหมัดผัก นอกจากนี้ยังพบการเข้าทำลายของหนอนใยผักอีกด้วย ณ แปลงผักบางท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 ทางศูนย์ฯได้ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโดยด้วงหมัดผักนั้นป้องกันดังนี้ 
การป้องกันกำจัด 1.การไถตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7 – 15 วัน เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อยู่ใต้ดิน 2.ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา คาร์โปแคปซี อัตรา 50 ล้านตัว/น้ำ 20 ลิตร พ่นหรือราดลงดินก่อนปลูกหลังการให้น้ำ และพ่นทุก 7 วันหลังปลูก 3.ใช้เชื้อแบคทีเรีย (บีที) บาซิลลัส ทูริงเยนซิส เช่น โนโวดอร์เอฟซี โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน 4. ใช้สะเดาบดโรยรอบโคนต้น 20 กก.ต่อไร่  ทุก 7 วัน 5. สารเคมีที่แนะนำให้ใช้ ดังนี้ โทลเฟนไพแรด 16% EC 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร , ไดโนทีฟูแรน 10% WP 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร, อะซีทามิพริด 20% SP 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร , ฟิโพรนิล 50 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาด และควรพ่นสารสลับกลุ่มกลไกการฤทธิ์เพื่อชะลอการสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง 
หนอนใยผัก หนอนใยผัก  วิธีการ จัดการให้ใช้วิธีผสมผสาน ดังนี้
1.วิธีกล  ทำกับดักใช้กากน้ำตาลผสมน้ำอัตราส่วน 1:5 ใส่ขวดพลาสติกเจาะรูแขวนไว้ตามสวนตัวผีเสื้อกลางคืนจะมาดูดกินเหยื่อจมน้ำ
2.ใช้ชีวภัณฑ์ เชื้อบีที ที่เจาะจงกำจัดหนอนผีเสื้อ พ่นบีทีก่อนแล้วพ่นสารเคมีสลับ หรือบีที+สารเคมีจะได้ผลดี
3.ใช้สารเคมี พ่นเมื่อเริ่มพบหนอนระบาด เช่น
-กลุ่ม1 อะซีเฟต ไทโอไดคาร์บ หรือไตรคลอร์ฟอน 
-กลุ่ม2ฟิโพรนิล
-กลุ่ม5สไปนีโทแรม
-กลุ่ม6อีมาเมกติน
-กลุ่ม 13คลอร์ฟีนาเพอร์
-กลุ่ม15โนวาลูรอน ลูเฟนนูรอน
-กลุ่ม21โทลเฟนไพแรด
-กลุ่ม22อินดอกซาคาร์บ

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. เข้าร่วมในงานวันรณรงค์ถ่ายทอดความรู้การป้องกันและควบคุมโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราด้วยวิธีผสมผสาน


วันที่ 24 มีนาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่5 จังหวัดสงขลา ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเกษตรอำเภอนาบอน ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช และการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมในงานวันรณรงค์ถ่ายทอดความรู้การป้องกันและควบคุมโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราด้วยวิธีผสมผสาน โดยมีนายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่5 จังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด ทั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากนายวิชัย ตู้แก้ว ผู้อำนายการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและการจัดการดินปุ่ยเข้าร่วมในงานดังกล่าว โดยภายในงานเป็นเวทีการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราโดยการบรูณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา   ณ สมาคมคลองจัง  ตำบลนาบอน  อำเภอนาบอน  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ศทอ.สฎ ให้การต้อบรับเจ้าหน้าผู้รับผิดชอบงานด้านอารักขาพืชเพื่อศึกษาดูงานด้านอารักขาพืช

วันที่ 24 มีนาคม 2566 ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อบรับเจ้าหน้าผู้รับผิดชอบงานด้านอารักขาพืช ระดับอำเภอ/จังหวัดในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีในการศึกษาดูงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านอารักขาพืช ติดตามการทำงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และพัฒนาให้เกิดศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเครือข่ายต่อไป ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี