วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

จัดส่งเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อสนับสนุนเชื้อให้แก่พื้นที่ประสบอุทกภัย

วันที่ 31 มีนาคม 2565 นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดส่งเชื้อราไตรโคเดอร์มาพร้อมใช้ จำนวน 500 กิโลกรัม และหัวเชื้อจำนวน 500 ขวด ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสนับสนุนเชื้อให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัยช่วงที่ผ่านมาใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรต่อไป พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชไม้ยางพาราและมะพร้าว ซึ่งยังพบการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในมะพร้าวต้นสูงเมื่อสอบถามเกษตรกรๆ ได้แจ้งให้ทางอำเภอทราบถึงการระบาดแล้วและได้รับแตนเบียนมาปล่อยบ้างอย่างต่อเนื่อง ส่วนยางพาราเข้าสู่ระยะแตกใบใหม่ตั้งแต่ใบอ่อนถึงใบเพสลาด และยังไม่พบการระบาดของโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่








วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

ติดตามผลการดำเนินงานศจช.ในพื้นที่ อ.ฉวาง

วันที่ 30 มีนาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล ร่วมกับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอฉวาง ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนโดยเป็นการปรับระบบฐานข้อมูลศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนให้เป็นปัจจุบันเพื่อที่จะบริการให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งทางศูนย์ฯได้มอบสารชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราซึ่งเป็นการลดต้นทุนการใช้สารเคมีอีกด้วย ณ สำนักงานเกษตรอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช




ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดสุราษฎร์ธานี(ศูนย์เครือข่ายอำเภอเวียงสระ)

วันที่ 30 มีนาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดสุราษฎร์ธานี(ศูนย์เครือข่ายอำเภอเวียงสระ)ของนายวีระศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ซึ่งเป็นประธานแปลงใหญ่ โดยภายในแปลงมีการปลูกพืชแบบผสมผสาน อาทิเช่น ทุเรียน กล้วย ยางพารา โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านการเกษตร พร้อมทั้งทางศูนย์ได้มอบสารชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์พร้อมใช้เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราซึ่งเป็นการลดต้นทุนการใช้สารเคมีอีกด้วย ณ ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดสุราษฎร์ธานี(ศูนย์เครือข่ายอำเภอเวียงสระ) 28/18 หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี







ติดตาม และมอบแหนแดงเพื่อใช้เป็นแปลงต้นแบบสำหรับการเพาะเลี้ยง

วันที่ 30 มีนาคม นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล ติดตาม ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ร่วมกับนางนทาภรณ์ สุขอนันต์ เกษตรอำเภอช้างกลางและเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอพร้อมลงพื้นที่ติดตาม และมอบแหนแดงเพื่อใช้เป็นแปลงต้นแบบสำหรับการเพาะเลี้ยง ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลควนกลาง 138 ม.1 ต.ควนกลาง อ.พิปูน นาย คล่อง ศรีพัฒน์







ประกาศ มีเชื้อสดพร้อมใช้ของไตรโคเดอร์มาให้บริการในปริมาณที่จำกัด

ประกาศ เนื่องจากต้องจัดส่งเชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยเหลือพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้มีเชื้อสดพร้อมใช้ของไตรโคเดอร์มาให้บริการในปริมาณที่จำกัด หากหมดแล้วหมดเลย โดยสามารถโทรมาติดต่อสอบถามก่อนได้ที่เบอร์ 089-4735554 ขอบคุณค่ะ/ครับ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ ร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชครั้งที่ 3/2565

วันที่ 29 มีนาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชครั้งที่3/2565 โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย เป็นประธานการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Zoom Meetings โดยภายในการประชุมจะเป็นเรื่องติดตามเพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชของแต่ละศูนย์ฯ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี










วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

การประชุมเจ้าหน้าที่ประจำเดือนมีนาคม

วันที่ 28 มีนาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประชุมเจ้าหน้าที่ประจำเดือนมีนาคม เพื่อติดตามและสรุปผลการปฏิบัติงานในเดือนที่ผ่านมา  มีประเด็นหารือเรื่องการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 การทำแผนงานลงในระบบ T&V System เพื่อให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้ง ปฎิบัติตามมาตราการป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19  ณ ห้องประชุม ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

ศทอ.สุราษฎร์ธานีร่วมเป็นวิทยากรโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร (Smart Farmer) ประจำปี 2565





วันที่ 23 มีนาคม 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร (Smart Farmer) หลักสูตร “พัฒนาความรู้ด้านยางพาราทั้งระบบ เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพชาวสวนยางและก้าวไปสู่ Smart Farmer” ของการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง ณ ห้องประชุมโรงแรมชัยคณาธานี อำเภอเมือง พัทลุง จังหวัดพัทลุง จัดโดยการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง โดยมี นางสุพัชรี ธรรมเพชร ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการอบรม นายปัญญา ชูสกุลวงค์ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง กล่าวรายงาน มีเกษตรกรชาวสวนยางผู้มีคุณสมบัติพื้นฐานของ Smart Farmer จำนวน 350 คน เข้าร่วมโครงการฯ

หลักสูตรดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกษตรกรที่ผ่านการประเมินคุณสมบัติด้านรายได้และคุณสมบัติพื้นฐาน (Existing Smart Farmer) สู่การเป็น Smart Farmer ต้นแบบในสาขายางพารา สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ  สอดรับกับบริบทของพื้นที่และสินค้า ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพมุ่งสู่การเป็น Smart Product และก่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้เกษตรกรปราดเปรื่องต้นแบบด้านยางพารา เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรได้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพชาวสวนยาง โครงการฯ จัดขึ้นภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสติดเชื้อโคโรน่า 2019 อย่างเคร่งครัด

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565

ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของศัตรูปาล์มน้ำมัน

 วันที่ 21 มีนาคม 2565 นายจิรายุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของศัตรูปาล์มน้ำมันของนาย ชยันต์ ชัยสุวรรณ ม.4 ตำบลช้างซ้าย อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการลงสำรวจพบว่ามีการระบาดของด้วงกุหลาบเป็นจำนวนมากโดยจะกัดกินทางใบของต้นปาล์มน้ำมันซึ่งต้นปาล์มน้ำมันนั่นมีอายุประมาณ 1 ปี โดยทางศูนย์ได้แนะนำคาร์บาริล 85%WP อัตรา 40-50กรัมหรือซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และ ฟิโพรนิล 5%SC อัตรา 40-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดสลับเพื่อป้องกันการดื้อยาพร้อมทั้งทางศูนย์ได้สนับสนุนสารชีวภัณฑ์เชื้อราเมธาไรเซียมไว้ฉีดพ่นร่วมกับสารเคมี







รเคมี

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565

ตอนรับคณะศึกษาดูงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา​

วันที่​ 18​ มีนาคม​ 2565​ นายจิรยุทธ​ จิตราภิรมย์​.นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ​ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายปัญจ์ชิเน​ เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร​ และนางสาวเฑียรมณี​ พรัมรัตพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ตอนรับคณะศึกษาดูงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา​ ซึ่งนำโดยนายกวีพจน์​ มัชฉากิจ​ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช​ นำเกษตรกรผู้ปลูกพืชปลอดภัยเข้าศึกษาดูงานการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติ​และชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช​เพื่อนำไปขยายผลในการผลิตของกลุ่มต่อไป​ ณ​ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช​ จังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

วิทยากรถ่ายทอดความรู้ในโครงการจัดการศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง​

วันที่​ 17​ มีนาคม​ 2565​ นายจิรยุทธ​ จิตราภิรมย์​ นักวิชาการ​ส่งเสริม​การเกษตร​ปฏิบัติการ​ และนางสาวเฑียรมณี​ พรัมรัตนพงศ์​ นักวิชาการ​ส่งเสริม​การเกษตร​ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในโครงการจัดการศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง​เรื่อง การใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มาและบิวเวอเรียในการควบคุมศัตรูพืช​ ซึ่งจัดโดย​กศน.อำเภอ​บ้านนาสาร​ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้การทำการเกษตรโดยลดการใช้สารเคมี​ เกษตรกรเป้าหมายเป็นผู้สนใจที่อยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านนาสาร​ ตำบลละ​ 2​ ราย​ รวมจำนวน​ ​22​ ราย​ ณ​ กศน.อำเภอบ้านนาสาร​ ต.นาสาร​อ.บ้านนาสาร​ จ.สุราษฎร์ธานี