วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ศทอ.สฏ.เข้าร่วมสำรวจพื้นที่จากส่วนล่วงหน้า

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมรับการตรวจและสำรวจพื่นที่รับเสด็จฯ จากส่วนล่วงหน้า ณ ค่ายเทพสตรีสรีสุนทร ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช








วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ.ส่งมอบแมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อควบคุมการระบาดของหนอนหัวดำและแมลงดำหนามมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่งมอบแมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อควบคุมการระบาดของหนอนหัวดำและแมลงดำหนามมะพร้าวซึ่งจะแก้ปัญหาการระบาดให้เป็นไปได้ทันท่วงทีและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และพื้นที่ใกล้เคียง ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบขีรีขันธ์




ศทอ.สฎ.สาธิตการขยายเชื้อราเมธาไรเซียม

 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 สาธิตการขยายเชื้อราเมธาไรเซียมให้กับเกษตรกร นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สาธิตการขยายเชื้อราเมธาไรเซียมให้กับคุณกรกนก นวลขาว ซึ่งประสบปัญหามีหนอนด้วงแรดในกองปุ๋ยหมักจำนวนมาก ทำให้เกิดความกังวลในการนำปุ๋ยหมักไปใช้ในแปลงพืช ซึ่งด้วงแรดในระยะหนอนจะเป็นตัวช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ โดยตัวเต็มวัยเพศเมียมักจะวางไข่ในกองซากพืช ปุ๋ยคอก กองปุ๋ยหมัก กองขุ่ยมะพร้าว กองขยะที่มีความชื้น จึงแนะนำดังนี้

1.หมั่นพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก
2.หากเจอตัวหนอนใ้ห้เก็บทำลาย
3.ใ้ช้เชื้อราเมธาไรเซียมคลุกผสมในกองปุ๋ยหมัก







เตือนการระบาดด้วงหมัดผัก



วงจรชีวิตและลักษณะการทำลาย

ด้วงหมัดผักแถบลายวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ หรือกลุ่มบริเวณโคนต้นพืช เส้นกลางใบพืช และตามพื้นดิน ไข่สีขาวอมเขียว ผิวเรียบเป็นมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนก่อนฟักเป็นตัว ระยะไข่ 3 – 4 วัน ตัวหนอนมีสีขาว ส่วนหัวและส่วนท้องปล้องแรกมีสีน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลตามลำตัวและแผ่นหลังสีน้ำตาลอยู่ทางด้านบนของปล้องสุดท้ายของลำตัว หนอนอาศัยอยู่ในดิน ระยะหนอน 10 – 14 วัน และเข้าดักแด้ในดิน ระยะดักแด้ 4 – 5 วัน ตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็ก ปีกคู่หน้าสีดำมีแถบเหลืองสองแถบพาดตามความยาวด้านล่างลำตัวสีดำ อายุตัวเต็มวัย 30 – 60 วัน เพศเมียแต่ละตัววางไข่ได้ 80 – 200 ฟอง
เป็นศัตรูสำคัญของผักตระกูลกะหล่ำเช่น คะน้ากวางตุ้ง กะหล่ำดอก ผักกาดหัว ตัวอ่อนของด้วงหมัดผักชอบกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้น หรือรากของผักทำให้ผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโตถ้ารากถูกทำลายมากๆ ก็อาจทำให้ผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดกินด้านล่างของผิวใบทำให้ใบมีรูพรุนและอาจกัดกินลำต้น และกลีบดอกด้วย
การป้องกันกำจัด
1.การไถตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7 – 15 วัน เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อยู่ใต้ดิน
2. การใช้สารสกัดจากพืชที่มีกลิ่นไล่ เช่น สารสกัดสะเดา หางไหล บอระเพ็ด ตะไคร้หอม
3. การใช้ชีวภัณฑ์ เช่น ใช้เชื้อราเขียวเมธาไรเซียม 1 กิโลกรัม/น้ำ 50 ลิตร หรือไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา คาร์โปแคปซีอัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร ราดที่ดินเพื่อกำจัดตัวอ่อน โดยพ่นหรือราดลงดินก่อนปลูกหลังการให้น้ำ และพ่นทุก 7 วันหลังปลูก
4. สารเคมีที่แนะนำให้ใช้ ดังนี้
สารกลุ่ม 1A คาร์บาริล 85% WP 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
สารกลุ่ม 1B โพรฟีโนฟอส 50% EC 50 มล./น้ำ 20 ลิตร
สารกลุ่ม 2B ฟิโพรนิล 5% SC 50 มล./น้ำ 20 ลิตร
สารกลุ่ม 4A ไดโนทีฟูแรน 10% WP 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
สารกลุ่ม 4A อะซีทามิพริด 20% SP 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
สารกลุ่ม 21 โทลเฟนไพแรด 16% EC 30 มล./น้ำ 20 ลิตร
พ่นเมื่อพบการระบาด และควรพ่นสารสลับกลุ่มกลไกการฤทธิ์เพื่อชะลอการสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง

ศทอ.สฎ. เข้าร่วมประชุม morning talk

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุม morning talk โดยมี นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการในกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งร่วมกันปรึกษาหารือข้อราชการเกี่ยวกับปัญหาด้านการเกษตร และกำหนดแนวทางพัฒนาแบบบูรณาการงานในพื้นที่ร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้ง โรคระบาด และ pm 2.5 โดยใช้กลไกศูนย์พิรุณราช ระดับอำเภอ รับเรื่องราว ประสานความร่วมมือกับฝ่ายปกครองในพื้นที่ ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ. ร่วมการประชุมความร่วมมือการรับรองแหล่งผลิตสินค้าเกษตร GAP พืช ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ระดับเขต ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2567

 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือการรับรองแหล่งผลิตสินค้าเกษตร GAP พืช ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ระดับเขต ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2567 ผ่านระบบ Zoom coud meeting เพื่อหารือแนวทางการดําเนินงานความร่วมมือและการรายงานผลการดําเนินงาน ปีงบประมาณ 2567 โดยมีบุคคลเป้าหมาย เข้าร่วมประชุม จํานวน 50 คน ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี




ศทอ.สฎ. ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางในจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ โดยมีนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี






ศทอ.สฏ. ติดตามการระบาดด้วงแรดในปาล์มน้ำมัน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นางสาวและเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับนายอัษฎายุทธ ไข่ช่วย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน ติดตามการแพร่ระบาดด้วงแรดปาล์มน้ำมันแปลงของนายเชิด  ทองสุข หมู่ 4 ต.กรูด อ.พุนพิน ซึ่งในแปลงเป็นการปลูกปาล์มน้ำมันแบบทดแทนต้นเดิม และมีการกำจัดต้นเก่าด้วยการฉีดยาให้ยืนต้นตายทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของด้วงแรด แนะนำให้จัดการ ดังนี้

1. วิธีเขตกรรม เผาทำลายซากลำต้น ตอปาล์มน้ำมัน เกลี่ยกองซากพืชโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.

2. ควบคุมโดยใช้กับดักฟีโรโมนล่อจับตัวเต็มวัย

3.ชีววิธี ใช้เชื้อราเมธาไรเซียมผสมกับกองแหล่งเพาะพันธุ์ เพื่อทำลายหนอนและตัวเต็มวัยด้วงแรด







วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ.ประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการวิจัยการเกษตร" ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร

 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าร่วมการประชุมเรื่อง : ประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการวิจัยการเกษตร" ขยายผลการผลิตและใช้แหนแดงเพื่อลดต้นทุนการผลิตสู่เกษตรกร" ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ซึ่งจัดโดยกองอารักขาพืช กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และถูกต้องตามระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ.ส่งมอบแมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อควบคุมการระบาดของหนอนหัวดำและแมลงดำหนามมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่งมอบแมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อควบคุมการระบาดของหนอนหัวดำและแมลงดำหนามมะพร้าวซึ่งจะแก้ปัญหาการระบาดให้เป็นไปได้ทันท่วงทีและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และพื้นที่ใกล้เคียง ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบางสะพาน และ สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบขีรีขันธ์






ศทอ.สฎ.ร่วมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ ในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (field day ) ปี 2567

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ ในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (field day ) ปี 2567 โดยศูนย์ฯได้ร่วมถ่ายทอดความรู้ในสถานีที่ 1 การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ณ ศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล (ทุเรียน) : การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาร หมู่ที่ 5 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี












วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ศทอ.สฏ.เข้าร่วมการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาเกษตรกรให้เป็นหมอพืชชุมชน หลักสูตรที่ 2

วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์  2567 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายสุทธศักดิ์ ทองโอ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เข้าร่วมการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาเกษตรกรให้เป็นหมอพืชชุมชน  ซึ่งจัดอบรมหลักสูตรที่ 2 เสริมทักษะหมอพืชชุมชน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา   ซึ่งศทอ.สฏ. ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ เเละเป็นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรม เพื่อเพิ่มทักษะให้หมอพืชชุมชนสามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์เครือข่าย ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา เกษตรกรเป้าหมายทั้งสิ้น 16 ราย