วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่อง หลักการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย

วันที 31 พฤษภาคม 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่อง หลักการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์และแมลงศัตรูธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมี ณ0แปลงใหญ่ทุเรียนถิ่นถ่านหิน หมู่ที่ 2 ตำบลพ่วงพรมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป้าหมายเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนจำนวน 50 ราย









เตือนการระบาดโรคแอนแทรคโนสพริก

 โรคแอนแทรคโนสพริก (Anthracnose Disease)

เชื้อสาเหตุ Colletotrichum spp.  เชื้อราสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะแตกใบอ่อน แตกช่อดอก หรือขณะมีผลอ่อน แต่จะก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อผลสุก 



วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. อบรมถ่ายทอดความรู้เรื่อง หลักการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย

 วันที 30 พฤษภาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เรื่อง หลักการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์และแมลงศัตรูธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมี ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 5 ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป้าหมายเกษตรกรแปลงใหญ่ฝรั่ง จำนวน 50 ราย








ศทอ.สฎ.เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ติดอาวุธทางปัญญาเพื่อพัฒนานักอารักขาพืช ปี 2566 รายวิชาการวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดจากเกิดจากสมดุลธาตุอาหาร

 

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ติดอาวุธทางปัญญาเพื่อพัฒนานักอารักขาพืช ปี 2566  รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting  โดยเป็นการอบรมเรื่องการวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดจากสมดุลธาตุอาหาร โดยมี รศ.ดร.จำเป็น อ่อนทอง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นวิทยากร มีเนื้อหาคือธาตุอาหารที่จำเป็นการวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นเบื้องต้นภาคสนาม จำแนกตามชนิดของธาตุที่สำคัญ การเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์  ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี













วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. เข้าร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาการให้บริการคลินิกพืชสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เครือข่าย

 วันที่ 29 พฤษภาคม2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาการให้บริการคลินิกพืชสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์เครือข่าย ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อดำเนินการวางแผนจัดทำหลักสูตรสำหรับพัฒนาหมอพืชชุมชนในพื้นที่ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดนำร่องในพื้นที่ ให้มีหมอพืช ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ฯ มีจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา และนครศรีธรรมราช ซึ่งในอนาคตจะมีหมอพืชอย่างน้อยอำเภอละ 2 คน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการจัดเตรียมหลักสูตร และคัดเลือกหมอพืช





วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ติดอาวุธทางปัญญาเพื่อพัฒนานักอารักขาพืช ปี 2566 รายวิชาการวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดจากแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ติดอาวุธทางปัญญาเพื่อพัฒนานักอารักขาพืช ปี 2566  รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting  โดยเป็นการอบรมเรื่องการวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดจากแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ โดยมี ผศ.ดร.เบญจคุณ แสงทองพราว จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นวิทยากร มีเนื้อหาคือการวินิจฉัยการเข้าทำลายที่เกิดขึ้น จำแนกชนิดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ และการเก็บตัวอย่างแมลงศัตรูพืช ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี









วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ติดตามการระบาดแมลงดำหนามมะพร้าว

 

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอหัวไทร ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าว ที่ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการลงสำรวจพบว่ามีการเข้าทำลายของแมลงดำหนามมะพร้าว โดยแมลงดำหนามมะพร้าวนั่น ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะซ่อนอยู่กับยอดอ่อนที่เริ่มคลี่ หนอนวัย 1 จะแทะผิวใบด้านในที่ยังพับติดกัน เมื่อใบคลีออกทำให้ใบอ่อนมีรอยไหม้ ตัวเต็มวัยจะกัดทำลายและวางไข่ที่ใบอ่อน ทำให้ปลายใบอ่อนม้วนเป็นที่อาศัยของหนอนอยู่ภายใน ทางศูนย์ได้ให้คำแนะนำโดยการตัดยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทิ้งแล้วเผาทำลาย เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนามมะพร้าว พร้อมทั้งได้สนับสนุนแมลงหางหนีบและเชื้อราเมธาไรเซียม และแนะนำสารเคมี cartap hydrochloride 4% GR อัตรา 30 กรัมต่อต้น ใส่เป็นถุงสีชาติดไว้ที่ยอดอ่อน สำหรับต้นที่สูง 1 เมตรขึ้นไปเพื่อป้องกันการทำลายแมลงดำหนามมะพร้าวได้นาน 1 เดือน ส่วนต้นที่สูง 12 เมตรขึ้นไปได้แนะนำ สารอิมาเม็กตินเบนโซเอต อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อต้น โดยการเจาะมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 รู อยู่ด้านตรงข้ามกัน ลึก 10 เซนติเมตร ใส่สารรูละ 25 มิลลิลิตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที วิธีนี้จะป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวได้ไม่น้อยกว่า 2 เดือน (วิธีการนี้สามารถป้องกันกำจัดได้ทั้งด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอนหัวดำมะพร้าว)








ถ่ายทอดความรู้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริลุ่มน้ำปากพนัง ต.ดอนตรอ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชนาข้าว และปาล์มน้ำมัน โดยใช้วิธีแบบผสมผสาน (IPM) ซึ่งจะเป็นการควบคุมศัตรูพืชหลายๆวิธีการ เพื่อควบคุมระดับศัตรูพืชไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิต ปลอดภัยและประหยัด พร้อมทั้งแนะนำการใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ป้องกันโรคพืช และสาธิตการสกัดสะเดา รวมถึงสนับสนุนให้เกษตรกรนำไปใช้







ศทอ. สุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ครั้งที่ 4/2566

วันที่ 24-25 พฤษภาคม 2566 นายณัทธร​ รักษสังข์​ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ครั้งที่ 4/2566 เพื่อวางวางแผนการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จำนวน 9 ศูนย์ โดยมี นายวิชัย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการกองส่งเสริม การอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย เป็นประธาน ณ บ้านวังน้ำเขียว ลอดจ์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา






วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ถ่ายทอดความรู้การวินิจฉัยศัตรูพืช ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร

 วันที่ 24 พฤษภาคม25666 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ่ายทอดความรู้การวินิจฉัยศัตรูพืช ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื่นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานคลินิกพืชในพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่เข้ารับการถ่ายทอดความรู้ จำนวน15ราย