วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

ติดตามการระบาดของศัตรูผัก

วันที่ 28 เมษายน 2566 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ติดตามพบการระบาดของด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน ทางศูนย์ฯจึงได้สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ สารสกัดสะเดา กากเมล็ดสะเดาบดำสำเร็จรูปให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นวิธีการลดต้นทุนการใช้สารเคมีและทำการเกษตรอย่างยั่งยืนอีกด้วย ณ บ้านบุญฟาร์ม ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ศทอ.สฎ.สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ สารสกัดสะเดาและเมล็ดสะเดาบดสำเร็จรูปในโครงการทหารพันธุ์ดี

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมกับ นายณัฐยศ อมรกล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ จากสำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งสง ได้สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ สารสกัดสะเดา และกากเมล็ดสะเดาบดสำเร็จรูป พร้อมทั้งให้คำแนะนำวิธีการใช้ที่ถูกต้องและถูกวิธีให้กับเจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำการ ณ  ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.ร่วมกิจกรรมออกหน่วยให้บริการในคลินิกบริหารศัตรูพืช​

วันที่ 26 เมษายน 2566 นายณัทธร​ รักษ์สังข์​ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช​ จังหวัดสุราษฎร์ธานี​ พร้อมด้วย​นายจิรยุทธ​ จิตราภิรมย์​ นักวิชาการสเสริมการเกษตรปฏิบัติการ​ และเจ้าหน้าที่่ของศูนย์ ร่วมเป็นเกียรติและให้บริการเกษตรกรในพิธีเปิดงาน และร่วมกิจกรรมออกหน่วยให้บริการในคลินิกบริหารศัตรูพืช​ ภายใต้โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่​ในพระราชานุเคราะห์​ สมเด็จพระบรมโอราสาธิราช​สยามมกุฎราชกุมาร​ ครั้งที่ 3/2566 ณ​ อาคารอเนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช​ มีเกษตรกรเข้ารับบริการ​จำนวน​ 109 ราย












ศทอ.สฎ.เข้าร่วมสัมมนาโรงเรียนเกษตรกร (FSS Online Party)

วันที่ 26 เมษายน 2566  นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมสัมมนาโรงเรียนเกษตรกร (FSS Online Party) ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำเสนอผลการทำโรงเรียนเกษตรกร(ข้าว/ผัก/ไม้ผล/พืชไร่/ไม้ดอก/ไม้ยืนต้น) และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการนำเดินการ และแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินโรงการเกษตรกรในแต่ละเขตถึงปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไข และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโรงเรียนเกษตรกรให้ประสบความสำเร็จ  โดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เป็นประธานการสัมมนา   ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี








วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมงานรัฐพิธี "วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ประจำปี 2566

 วันที่ 25 เมษายน 2566 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมงานรัฐพิธีถวายราชสักการะ และแสดงความจงรักภักดี ใน "วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ประจำปี 2566 โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธี

ณ อาคารศูนย์กลางการประชุมสัมมนาภาคใต้ตอนบน ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี





ศทอ.สฎ. เข้าสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร R2R

วันที่ 25 เมษายน 2566  นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร R2R เสริมพลัง สร้างสรรค์ ผุ้นำการเปลี่ยนแปลงในงานส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ แนวคิด หลักการพัฒนางานบุคลากรด้วยระบบการวิจัย รวมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรนำกระบวนการวิจัยไปพัฒนางานที่รับผิดชอบและเรียนรู้พัฒนาตนเองไปพร้อมกับการพัฒนางาน ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี










วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2566

เตือนการระบาดเพลี้ยอ่อน

 เพลี้ยอ่อน (Aphids) 



ชื่อวิทยาศาสตร์: 1.Myzus persicae Sulzer (เพลี้ยอ่อนลูกท้อ, peach aphid)

2.Aphis gossypii Glover (เพลี้ยอ่อนฝ้าย, cotton aphid)

วงศ์: Aphididae

อันดับ: Homoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

เพลี้ยอ่อนสองชนิดนี้เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญ ของพืชผัก พืชไร่ และไม้ผลหลายชนิด ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอด ทำให้เกิดใบบิดเป็นคลื่น ทำให้ต้นพืชชะอักการเจริญเติบโต และยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ทำให้เกิดรคใบด่างในพริก มักระบาดช่วงอากาศแล้ง

การป้องกันกำจัด

1. การกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก

2. หากพบเพลี้ยอ่อนระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง

3. ใช้สารสกัดสะเดา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ล. ฉีดพ่นช่วงเวลาตอนเย็น ทุก 3 วัน 3-4 ครั้งต่อเนื่อง เริ่มฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน

4. ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย 1 กก. ต่อน้ำ 40 ล. ฉีดพ่นช่วงเวลาตอนเย็น ฉีดให้ถูกตัวเพลี้ยอ่อน เริ่มฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน

5. ใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่าสีส้ม ด้วงลายจุด แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส

6. การใช้สารเคมีแนะนำ เช่น กลุ่ม 2Aฟิโพนิล 5%SC  อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ล. หรือ กลุ่ม 4A อิมิดาโคลพริด 10%SL อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ล. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน

ลิ้งค์(คลิก)





ศทอ.สฏ.เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่

วันที่ 24 เมษายน 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปกิบัติการ  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอราสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาส 3/2566 จังหวัดภูเก็ต  ผ่านระบบออนไลน์  เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมดังกล่าวในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต





 

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.จัดส่งเชื้อราเมธาไรเซียมพร้อมใช้และหัวเชื้อราเมธาไรเซียมให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดส่งเชื้อราเมธาไรเซียมพร้อมใช้และหัวเชื้อราเมธาไรเซียมให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์เพื่อสนับสนุนให้กับเกษตรกรในต่อไป ณ สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  



ศทอ.สฏ.ให้บริการเกษตรกรในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผัก และการขยายพันธุ์แมลงศัตรูธรรมชาติ

 

วันที่ 20 เมษายน 2566 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้บริการเกษตรกรโดยให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผัก และการขยายพันธุ์แมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อให้เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงและปล่อยในแปลงปลูก ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรพืชประเภทเพลี้ยและ หนอน โดยได้สนับสนุนพ่อแม่พันธุ์ให้เกษตรกร ทั้งแมลงหางหบีบขาวงแหวนและมวนเพชฌฆาต ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี