วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลิตขยายแหนแดง​ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร

วันที่ 30 กันยายน 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ผลิตขยายแหนแดง​ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรที่สนใจนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อไป​ ประโยชน์ของแหนแดง​ เป็นพืชที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง​ ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี​ สามารถนำใช้ได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง​ การเพาะขยายพันธุ์ใช้เวลา ​1-2 สัปดาห์​ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว​ เกษตรกรท่านใดสนใจ​สามารถติดต่อขอรับได้ฟรี​ ณ​ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช​ จังหวัดสุราษฎร์ธานี












วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

ประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโนยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ครั้งที่ 6/2564

วันที่ 29 กันยายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ เข้าร่วมประชุมศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ครั้งที่ 6/2564 เพื่อวางแผนการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานด้านการบริหารจัดการศัตรูพืช และสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) ทั้ง 9 ศูนย์ในปีงบประมาน 2564 ผ่านการประชุมทางไกล (VDO Conference) โปรแกรม Zoom meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

สนับสนุนแมลงหางหนีบ​ควบคุมศัตรูมะพร้าว

วันที่ 29 กันยายน 2564  นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุนแมลงหางหนีบ​จำนวน 87,600 ตัว​ ให้สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก​ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์​ ใช้โครงการควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าว ปีงบประมาณ 2564 เพื่อปล่อยควบคุมพื้นที่ระบาดแมลงดำหนามมะพร้าวในจังหวังประจวบคีรีขันธ์















วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

สัมมนาเชิงปฏิบัติการสรุปงานส่งเสริมการเกษตรภาคใต้ ปี 2564

วันที่ 26-28 กันยายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการสรุปงานส่งเสริมการเกษตรภาคใต้ ปี 2564 ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานการส่งเสริมการเกษตร ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน และหาแนวทางความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ สำหรับการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีนายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ล่องแก่งหนานมดแดง รีสอร์ท อำเภอป่าพยอม จังหวัดพัทลุง

ลงพื้นที่แปลงติดตามสถานะการณ์ศัตรูพืช

วันที่ 28 กันยายน 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่แปลงติดตามสถานะการณ์ศัตรูพืช ณ แปลงทุเรียนของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี และแปลงทุเรียนของเกษตรกร ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบมีการระบาดของโรคใบจุดส่าหร่าย เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกชุกสาเหตุเกิดสาหร่าย Cephaleuros virescens ลักษณะอาการส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ใบ เกิดจุดค่อนข้างกลม เป็นขุยสีเขียว ต่อมาในระยะเกิดสปอร์จะเป็นสีแดง สีสนิมเหล็ก ผิวมีลักษณะเป็นขุย คล้ายกำมะหยี่ หากพบการระบาดควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี เป็นการลดความชื้นสะสมและหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการโรคควรมีการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และป้องกันกำจัดโรค โดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์















วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

ร่วมสัมมนาแนวทางขับเคลื่อนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน(ศจช.)​ในยุคชีวิตวิถีใหม่New normal)

วันที่ 23 กันยายน 2564 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมสัมมนาแนวทางขับเคลื่อนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน(ศจช.)​ในยุคชีวิตวิถีใหม่New normal)​โดยมีนายขจร ​เราประเสริฐ​ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร​ เป็นประธานพิธีเปิด​ มีการนำเสนอผลการเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนระดับเขตและการคัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนดีเด่นระดับเขตปี2564​ และระบบสารสนเทศเพื่อการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

ติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว

วันที่ 22 กันยายน 2564 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าวและหนอนหัวดำมะพร้าว ณ อำเภอไชยา และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ทางศูนย์ได้ให้คำแนะนำโดยการตัดยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทิ้งแล้วทำลาย เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนามมะพร้าว และยังได้แนะนำสารเคมี cartap hydrochloride 4 % GR อัตรา 30 กรัมต่อต้น ใส่เป็นถุงสีชาติดไว้ที่ยอดอ่อน สำหรับต้นที่สูง 1 เมตรขึ้นไป

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

ลงพื้นที่แปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูทุเรียน

วันที่ 22 กันยายน 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่แปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูทุเรียน  ณ  แปลงทุเรียน ของคุณสุกฤติภัทร วีระสุนทร  หมู่ที่ 8 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบมีการระบาดของโรคแอนแทรคโนส  และเพลี้ยหอย  ในเบื้องต้นได้แนะนำให้เกษตรกร ใช้ชีวภัณฑ์ ไตรโครเดอร์มาในการป้องกัน และต้นที่มีอาการรุนแรง ให้ใช้สารเคมี กลุ่มสารกลุ่ม 3 เช่น (ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตราโคนาโซล เป็นต้น  และสารกลุ่ม 11 เช่น  อะซ๊อกซีสโตรบิน ไพราโคลสโตรบิน ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน ฉีดพ่นสลับกัน ทุก 7-14 วันและ ผสมหรือสลับ ด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์ แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เป็นต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดโอกาสดื้อ   และวิธีการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอยเนื่องจากมีการระบาดไม่รุนแรง แนะนำให้เกษตรกร ใช้สารสกัดสะเดา ฉีดพ่น  โดยทั้งเชื้อราไตอร์โคเดอร์ม่า และสารสกัดสะเดา เกษตรกรสามารถขอรับบริการได้ที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี







ลงพื้นที่แปลงติดตามสถานะการณ์ศัตรูพืช ณ แปลงทุเรียนของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี และแปลงทุเรียนของเกษตรกร ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 22 กันยายน 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่แปลงติดตามสถานะการณ์ศัตรูพืช ณ แปลงทุเรียนของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี และแปลงทุเรียนของเกษตรกร ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบมีการระบาดของโรคแอนแทรคโนส  เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกชุก โรคแอนแทรค โนส มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum zibethinus Sacc. ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลสีน้ำตาลบนใบ หากรุนแรงแผลจะขยายทำให้ใบไหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เกิดบริเวณขอบใบ หรือกลางใบ บริเวณเนื้อใบที่ไหม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน ใบที่ไหม้จะยังคงติดอยู่กับกิ่งไม่ร่วงหล่นง่าย การเกิดโรคจะกระจายไปทั่วทั้งต้น ไม่เหมือนโรคใบติดที่เกิดเป็นหย่อม ๆ ต้นที่เป็นโรครุนแรง มีใบที่เป็นโรคจำนวนมาก จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรคเชื้ออาจจะติดไปยังผลของทุเรียน ทำให้เกิดโรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว ในระยะต้นกล้าหรือต้นที่เจริญเติบโตยังไม่เต็มที่จะทำให้การเจริญโตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต หากอาการรุนแรงจะทำให้กิ่งแห้ง หรือต้นตาย สามารถแพร่ระบาดไปตามลม ติดไปกับน้ำ เข้าทำลายพืชเมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โรคนี้พบได้ ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง แต่จะเห็นอาการชัดเจนในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนกำลังออกดอก ติดผล

การป้องกันกำจัด

1. ให้น้ำและธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป

2. กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี เป็นการลดความชื้นสะสม

3.หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบเริ่มมีอาการของโรค ตัดใบ หรือส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลง

ต้นที่มีอาการโรคไม่รุนแรงควรเน้นการป้องกันกำจัดโรคโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์มา ผสมน้ำฉีดพ่นบริเวณทรงพุ่มและดิน

4. แหล่งที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ ในระยะที่ทุเรียนแตกใบอ่อนและมีการเจริญเติบโตทางใบควร

ป้องกันกำจัดโรค โดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สารกลุ่ม 3 ( ไตรฟอรีน โพรคลอราช ไดฟิโนโคนาโซล อีพ๊อกซีโคนาโซล เฮกซาโคนาโซล ไมโคลบิวทานิล โพรพิโคนาโซล ทีบูโคนาโซล และ เตตราโคนาโซล เป็นต้น ) และสารกลุ่ม 11 ( อะซ๊อกซีสโตรบิน ไพราโคลสโตรบิน ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน เป็นต้น) ฉีดพ่นสลับกันทุก 7-14 วัน​และ ผสมหรือสลับ ด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์ แมนโคเซ็บ โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล เป็นต้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดโอกาสดื้อของเชื้อสาเหตุ





วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

จัดอบรมความรู้ด้านการเลือกและการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในทุเรียน และ กลุ่มสารฆ่าแมลงและไรตามกลไกการออกฤทธิ์

วันที่ 21 กันยายน 2564 นายภาณุรักษ์ ประทับกอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกันจัดอบรมความรู้ด้านการเลือกและการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในทุเรียน และ กลุ่มสารฆ่าแมลงและไรตามกลไกการออกฤทธิ์ ทั้งนี้ได้สนับสนุนสารสกัดสะเดาเพื่อเป็นการลดต้นทุนการใช้สารเคมี ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนอำเภอบ้านนาสาร หมู่ที่2 ตำบลลำพูน อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การฝึกอบรมรูปแบบออนไลน์ หลักสูตร เทคนิคการสรุปประเด็นและนำเสนอข้อมูล รุ่นที่ 8

วันที่ 20-21 กันยายน 2564 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการฝึกอบรมรูปแบบออนไลน์ หลักสูตร เทคนิคการสรุปประเด็นและนำเสนอข้อมูล รุ่นที่ 8 โดยมีนางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในพิธีเปิด ผ่านระบบ Zoom Meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี