วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.ถ่ายถอดความรู้เรื่องการจำแนกชนิดแมลงศัตรูพืช, ศัตรูธรรมชาติ และการสาธิตทำกับดักกาวเหนียวโครงการทหารพันธุ์ดี

 วันที่ 28 ธันวาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษร ร่วมกับ นายชัยวัต อินทรณรงค์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งสงจัดอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการจำแนกชนิดแมลงศัตรูพืช, ศัตรูธรรมชาติ และการสาธิตทำกับดักกาวเหนียวในโครงการทหารพันธุ์ดี สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจำแนกชนิดแมลงศัตรูธรรมชาติ ศัตรูพืชได้อย่างถูกต้องอีกทั้ง ยังสามารถที่จะติดตั้งกับดักกาวเหนียวซึ่งเป็นวิธีการที่ลดต้นทุนในการใช้สารเคมี สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชอีกด้วย ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 30 นาย นอกจากนี้ทางศูนย์ยังได้สนับสนุน สารชีวภัณฑ์ สารสกัดสะเดา ดังนี้

1.ไตรโคเดอร์มาจำนวน 10 กิโลกรัม
2.สารสกัดสะเดา 40 ขวด
3.เชื้อราบิวเวอร์เรีย 5 กิโลกรัม
ณ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช















วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ.ร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการสมัครรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567

 วันที่ 27 ธันวาคม 2566 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการสมัครรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี



ศทอ.สฎ.ร่วมลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ระดับจังหวัด

วันที่ 26-28 ธันวาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ร่วมลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ระดับจังหวัด เพื่อคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการ ศพก. ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และเป็นตัวอย่างในการขยายผลงานส่งเสริมการผลิตสิ้นค้าเกษตร การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรในชุมชน จำนวน 5 แห่งดังนี้

1.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเวียงสระ หมู่ที่ 7 ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ
2.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งเตา อำเภอบ้านนาสาร
3. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 2 ตำบลไทรสอง อำเภอชัยบุรี
4.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลไทรโสภา อำเภอพระแสง
5.ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ที่ 8 ตำบลครองน้อย อำเภอเมืองสุราษฏร์ธานี












เตือนการระบาดหอยทาก

หอยทากออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะอาศัยที่ร่มหลบแดด หอยทากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 5-8 เดือน ชอบวางไข่ตามซากกองใบไม้ ของไม้ผุ หรือใต้ผิวดินที่ร่วมซุยและชื้น วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งจะวางไข่ได้ปีละ 1,000 ฟอง หอยทากมีอายุเฉลี่ยประมาณ 5 ปี ถึงจะเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ช้า แต่ก็สามารถกัดกินยอดอ่อน ทำลายผลผลิตของเกษตรกรได้ พบแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน

การป้องกันกำจัด
1. อย่าปล่อยให้บ้าน หรือสวนรก สกปรก มีเศษใบไม้ ใบหญ้า ผลไม้สุกเน่า เศษอาหาร ข้าวสุก หกหล่นอยู่ตามพื้น เป็นการหยุดสร้างแหล่งอาหารให้กับหอยทาก พอหอยทากขาดแหล่งอาหารมันก็จะอพยพ ย้ายไปหาแหล่งอาหารใหม่
2. ไม่ทำให้บ้าน สวน อับชื้น หมั่นดูแลตัดแต่งต้นไม้อย่าให้ร่มครื้นจนแดดส่องลงมาถึงพื้นดินไม่ได้ถึง พอพื้นดินได้รับแสงแดด หรือผนังบ้านโดนแดดก็จะสะสมความร้อนเอาไว้ หอยทนร้อนไม่ไหวก็จะถอยออกไป
3. เก็บหอยทากออกไปทิ้ง ในที่รกร้างข้างทาง อย่างน้อยเราก็เอาไปปล่อยในที่เขายังหาอาหารกินได้
4. กากกาแฟ นำกากกาแฟมาโรยไว้รอบๆ แปลงผัก หรือรอบๆ กระถาง ความหยาบของกาแฟจะช่วยไม่ให้ทากเดินผ่านเข้าไปกินพืชผัก เพราะกากกาแฟจะติดลำตัวทาก
5. เปลือกไข่ นำเปลือกไข่ไปล้างให้สะอาด ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาบี้ให้แตกเป็นชิ้นๆ เล็กๆ ไม่ให้ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป นำไปโรยไว้รอบๆ แปลงผัก หรือรอบๆ กระถางต้นไม้ เปลือกไข่จะบางและคม บาดลำตัว
6. ถ่าน ถ่านที่ใช้หุง ต้ม กันทั่วไป โดยนำถ่าน มาตำ บด ให้เป็นผงๆ หยาบๆ ไม่ต้องละเอียดมาก แล้วนำไปโรยรอบๆ กระถางต้นไม้ หรือรอบๆ แปลงผัก ทาก และหอยทากจะไม่เดินลุยผงถ่าน
7. ขี้แกลบ เปลือกข้าวที่กะเทาะออกจากเมล็ดข้าว นอกจากจะใช้ทำปุ๋ยแล้ว ยังสามารถนำมาโรยไว้รอบๆ แปลงผัก หรือรอบๆ กระถาง ใช้ป้องกันทาก และหอยทากได้อีกด้วย เมื่อทากและหอยทากเดินผ่าน ขี้แกลบจะติดลำตัวมันไปด้วย และเอาออกยาก มันจะไม่ชอบ
8. ขี้เลื่อย ขี้เลื่อย นำมาโรยรอบๆ กระถาง หรือแปลงผัก เพื่อป้องกันทาก และหอยทาก ไม่ให้เข้าไปกินพืชผักได้ อะไรก็แล้วแต่ ที่เป็น ฝุ่นๆ ผงๆ หยาบๆ แหลมคม เหล็ก โลหะ ทาก และหอยทากจะไม่ชอบ
9.การใช้เหยื่อพิษกำจัดหอยทาก สารเคมี เมทัลดีไฮด์ 5% GB 1,000 กรัม/ไร่ ใช้หว่านรอบๆแปลง หรือวางเป็นจุดบนพื้นดินที่ชื้น ,นิโคลซาไมด์-โอลามีน 83.1%WP 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตรผสมน้ำพ่นให้ถูกตัวหอยทาก ,กากเมล็ดชา 10% saponin 1,000 กรัม/น้ำ 20 ลิตร นำผงกากชามาต้มกับน้ำจนเดือดประมาณ 10 นาที กรองเอากากชาออกนำน้ำที่กรองได้มาพ่นให้ถูกตัวหอยทาก หรือหว่าน 5,000 กรัม/ไร่ ใช้หว่านรอบๆแปลง




ข่าวเตือนการระบาดหนอนกระทู้ผัก🐛🥬

หนอนกระทู้ผัก🐛🥬

หนอนระยะแรกจะอยู่เป็นกลุ่มแทะกินผิวใบพืชจนเป็นรูพรุน ในระยะต่อมาจะทำลายรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ สามารถกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวกะหล่ำ การเข้าทำลายมักเกิดเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ แพร่ระบาดตลอดปีโดย เฉพาะในช่วงฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
1. ใช้วิธีเขตกรรม เช่น การไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้และลดแหล่งอาหารในการขยายพันธุ์
2. ใช้วิธีกล โดยการเก็บกลุ่มไข่ และหนอนทำลาย
3.ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ ที่พบเข้าทำลายหนอนกระทู้ผัก ได้แก่
แตนเบียนหนอน มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต
4.ใช้สารสกัดสะเดา อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3 วัน 3-4 ครั้งเนื่อง
5. ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bt) อัตรา 60–80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 3-5 วัน เมื่อพบการระบาด หากมีการระบาดรุนแรงให้พ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นพ่นทุก 5 วัน จนกระทั่งหนอนลดปริมาณการระบาด
6. ใช้ไวรัส NPV ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน ควรพ่นเมื่อหนอนมีขนาดเล็กจะให้ผลในการควบคุมได้รวดเร็วกรณีหนอนระบาดรุนแรงให้พ่นวันเว้นวัน
7. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาด





ศทอ.สฎ.ร่วมการประชุมคณะกรรมการประสานวิสาหกิจชุมชนระดับเขต ครั้งที่ 1

 วันที่ 27 ธันวาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการประสานวิสาหกิจชุมชนระดับเขต ครั้งที่ 1 ผ่านระบบ zoom meeting โดยมีนางสุนิภา คีรีนารถ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต รักษาราชแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จงหวัดสงขลา ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. ร่วมกันตรวจสอบทานวัดระยะแนวเขตและพื้นที่เพื่อปรับปรุงแบบแปลนการก่อสร้าง

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ และ กับนายช่างโยธา ร่วมกันตรวจสอบทานวัดระยะแนวเขตและพื้นที่ เพื่อปรับปรุงแบบแปลนการก่อสร้าง ก่อนเสนอกรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างงบลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี




ศทอ.สฎ.เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานดินปุ๋ย

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานดินปุ๋ย กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานดินปุ๋ย ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting จัดสัมมนาโดยกองอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการสัมมนา เพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานดินปุ๋ยให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม และเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่สู่การเป็นนักส่งเสริมด้านดินและปุ๋ยอย่างมืออาชีพในการขับเคลื่อนงาน ศดปช.ให้มีการขยายผลการจัดการดินและใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี








ศทอ.สฎ.ดำเนินการผลิตขยายก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดตามการดำเนินงานของนายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ในการดำเนินการผลิตขยายก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการผลิตชีวภัณฑ์ชนิดใหม่เพื่อเติมจากเดิมที่ศูนย์ฯดำเนินการอยู่ โดยดำเนินการผลิตขยายตามวิธีการที่ได้รับถ่ายทอดความรู้จากรมวิชาการเกษตร โดยใช้วิธีการผลิตน้ำเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี คุณสมบัติของเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี สร้างสาร aurisin A ไปยับยั้งการสร้างเส้นใย และสปอร์หรือส่วนขยายพันธืของเชื้อราไฟทอปธอร่่าสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน เกษตรกรที่สนใจการผลิตขยายเพื่อไปใช้ประโยชน์สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลางในจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ โดยนายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี




ศทอ.สฎ.ถ่ายทอดความรู้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดความรู้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน โครงการพระราชดำริลุ่มน้ำปากพนัง พร้อมทั้งสาธิตการขยายเชื้อราเมธาไรเซียม และสนับสนุนแมลงหางหนีบเพื่อให้เกษตรกรสามารถจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ณ  ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 5 ตำบลรามแก้ว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช