วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของโรคขอบใบทองหรือเน่าดำในกวางตุ้งและคะน้าพร้อมทั้งสนับสนุนเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส

วันที่ 30 กันยายน 2565 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของโรคขอบใบทองหรือเน่าดำในกวางตุ้งและคะน้าของแปลง นายสมพล ไทยบุญรอด ประธานแปลงใหญ่ พร้อมสนับสนุน เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส (bacillus subtilis) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา สำหรับวิธีการใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิสนั้น ใช้อัตรา 50 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบคนให้ละลาย ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม โดยฉีดพ่นช่วงตอนเย็น ห้ามฉีดพ่นช่วงที่มีแสงแดดจัด ณ แปลงผักบางท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ศทอ.สฎ.รับมอบเกียรติบัตรเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมือง

 วันที่ 30 กันยายน 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมรับมอบเกียรติบัตร โดยมีนายวิชวุทย์ จินโตผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มอบเกียรติบัตรให้ศูนย์ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมือง เพื่อเป็นการอนุรักษ์การแต่งกายด้วยผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมืองสืบต่อไป ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี





วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

ให้บริการ และสนับสนุนสารชีวภัณฑ์

 วันที่ 29 กันยายน 2565 นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ให้บริการสนับสนุน แนะนำขั้นตอนการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา แก่นายกิตติเทพ มูลิกะ เกษตรกรซึ่งมีความสนใจการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืช ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี





ศทอ.สฎ.ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หลักสูตรพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

 วันที่ 29 กันายน 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หลักสูตรพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาศึกษาดูงานด้านการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอร์เรีย และเชื้อราเมธาไรเซียมในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี โดยทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯได้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอร์เรีย และเชื้อราเมธาไรเชี่ยม และการนำไปใช้ นอกจากนี้ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสารสกัดสะเดา การผลิตแมลงศัตรูธรรมชาติ และระบบน้ำอัจฉริยะ พร้อมทั้งแนะนำบทบาทภารกิจของศูนย์ฯ ในการดำเนินงานด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยมีนักศึกษาที่มาศึกษาดูงาน จำนวน 25 คน ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี


วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

เตือนการระบาดโรคขอบใบทองหรือเน่าดำในกวางตุ้งและคะน้า

โรคขอบใบทองหรือเน่าดำ (bacterial leaf blight black rot disease)


สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 𝑋𝑎𝑛𝑡ℎ𝑜𝑚𝑜𝑛𝑎𝑠 𝑐𝑎𝑚𝑝𝑒𝑠𝑡𝑟𝑖𝑠 pv. 𝑐𝑎𝑚𝑝𝑒𝑠𝑡𝑟𝑖𝑠
พืชเริ่มแสดงอาการโรคให้เห็นในส่วนใบโดยใบจะเริ่มเหลืองจากขอบใบ แล้วลามลึกเข้ามาในเนื้อใบจนจรดแกนกลางของใบเป็นรูปตัววี (V) เส้นใบบริเวณนี้จะมีสีน้ำตาลดำต่อมาจะเกิดอาการแห้งจากขอบใบ ใบเหี่ยวเฉาและตกลงหรือหลุดจากต้น
การแพร่กระจายของเชื้อโดยติดไปกับเมล็ด แล้วแพร่ไปยังต้นกล้าอื่นในแปลงเพาะกล้า ส่วนการเกิดโรคในแปลงเกิดจากต้นกล้าที่ได้รับเชื้อในแปลงเพาะ หรือจากเชื้อที่ตกค้างอยู่ในเศษซากพืชในดิน หรือในพืชอาศัยที่อยู่ในแปลง แล้วแพร่กระจายโดยน้ำฝน หรือน้ำที่ใช้รดต้นพืช เชื้อเข้าสู่พืชทางระบบราก ทางปากใบ ต่อมคายน้ำ หรือทางบาดแผลแล้วกระจายสู่ส่วนต่าง ๆ ทางท่อน้ำ เชื้อแพร่กระจายจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นข้างเคียงโดยไปกับลม ฝน น้ำชลประทาน เป็นต้น
การป้องกันกำจัด
1. เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีมาตรฐานการผลิต ซึ่งผลิตจากแปลงที่ไม่มีโรคระบาด หรือได้รับการตรวจสอบแล้วว่าปราศจากโรค หากไม่แน่ใจก็ให้ทำการฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดเสียก่อนโดยการจุ่มแช่ในน้ำอุ่น ประมาณ
49-50 องศาเซลเซียส. นาน 20-25 นาทีหรือคลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ บาซิลลัส ซับทิลิส อัตรา 10 กรัมต่อ เมล็ด 1 กิโลกรัม ก่อนปลูก
2. ไม่ควรปลูกพืชตระกูลกะหล่ำลงในดิน ที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรงมาก่อนควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือพืชหมุนเวียน ที่ไม่ใช้พืชอาศัยของเชื้ออย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้เศษซากพืชและเชื้อหมดไปจากดิน
3. กำจัดเศษซากพืช และวัชพืชตระกูลกะหล่ำในแปลงและบริเวณใกล้เคียง
เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยอยู่ข้ามฤดูของเชื้อ และเมื่อเริ่มพบโรคในแปลง ควรถอนและเผาทำลาย
4. ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เนื่องจากไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากจำเป็นต้องใช้แนะนำให้ใช้สารประกอบทองแดง (คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ 77% WP อัตรา 15-20 กรัม หรือ คอปเปอร์ ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) โดยพ่นทุกๆสัปดาห์ในช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรค คือ เมื่ออุณหภูมิค่อนข้างสูงและความชื้นสูง
5. ควรใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น บาซิลลัส ซับทิลิส อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดโรครุนแรง

 






ศทอ.สฎ.ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดฯประจำเดือน กันยายน 2565

 วันที่ 28 กันยายน 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีประจำเดือน กันยายน 2565 โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี






ศทอ.สฎ. ร่วมประชุมหารือการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานคลินิกพืชและพัฒนาเกษตรกรเพื่อเป็นหมอพืชระดับชุมชนในพื้นที่จังหวัด/อำเภอนำร่อง

วันที่ 28 กันยายน 2565 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯร่วมประชุมหารือการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานคลินิกพืชและพัฒนาเกษตรกรเพื่อเป็นหมอพืชระดับชุมชนในพื้นที่จังหวัด/อำเภอนำร่อง ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงาน Core Team เพื่อเพิ่มศักยภาพกระบวนการทำงานด้านไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ ปี 2565 ครั้งที่ 2

วันที่ 27 กันยายน 2565 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงาน Core Team เพื่อเพิ่มศักยภาพกระบวนการทำงานด้านไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ ปี 2565  มีวัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อให้คณะทำงานได้ร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินงานในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมไม้ผลอัตลักษณ์ภาคใต้ในรอบปีที่ผ่านมา เป็นการประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี



วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

สนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มาและสารสกัดสะเดาให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะลันตา

 วันที่ 26 กันยายน 2565 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้สนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มาและสารสกัดสะเดาให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะลันตา โดยมีนางศุภร อ้อยบงค์ เกษตรอำเภอเกาะลันตา เป็นผู้รับมอบ เพื่อไปสนับสนุนใหักับเกษตรกรในการป้องกันกำจัดโรคพืชและโรคจากแมลงในทุเรียน  เป็นการลดต้นทุนการใช้สารเคมีอีกด้วย ณ ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่



ศทอ.สฎ. เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

วันที่ 25-26 กันยายน 2565นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานีและเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยมีนายอนุชา ยาอีด ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาเป็นประธานเปิดการสัมมนา ภายในการสัมมนานั่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการปฏิบัติงานในปี 2565 และระดมสมองหาแนวทางการดำเนินงานในปี 2566 ณ  โรงแรมนคราลองบีชรีสอร์ท ตำบลศาลาด่าน  อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่  นอกจากนี้ในวันที่ 26 กันยายน 2565 ได้มีการศึกษาดูงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งหยีเพ็งร่วมใจ และศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทุ่งหยีเพ็ง ณ ตำบลศาลา  อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่