ว่านน้ำ


 ว่านน้ำ

ชื่อวิทย์ : Acorus calamus L.

ชื่อสามัญ : Myrtle grass, Myrtle sedge, Sweet flag, Calamus root, Flag root

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะทั่วไป

    ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน มีใบแข็งตั้งตรง รูปร่างแบนเรียวยาว ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ ดอกมีสีเขียว มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อมีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้า และราก มีกลิ่นหอมฉุน ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ

แหล่งที่พบ

    ว่านน้ำพบได้ในทุกภาค แต่พบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบนที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร แถบจังหวัดเลย โดยมักพบบริเวณริมลำห้วย ริมลำธาร หรือริมหนองน้ำ ส่วนต่างประเทศพบในเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 เมตร เช่น อินเดียศรีลังกาสิกขิมอินโดนีเซียถึงนิวกินี และจีน โดยประเทศไทยพบว่านน้ำที่นำเข้าจากต่างประเทศอีก 2 ชนิด คือ A. pusiilu [พูซีรูและ A. gramineus [กรามินีอุสซึ่งเป็นว่านน้ำที่นำเข้าเพื่อใช้ปลูกในตู้ปลา

การขยายพันธุ์ ว่านน้ำโดยการแยกหน่อ

    การปลูกว่านน้ำ ปลูกได้ดีในที่ชื้นแฉะ มีน้ำท่วม ริมบ่อน้ำ ปลูกโดยการตัดต้นพันธุ์หรือเหง้าให้มีข้ออย่างน้อย 1 ข้อ ปักชำในกระบะทรายก่อน พอเริ่มงอกจึงย้ายว่านน้ำไปปลูก หรือนำท่อนพันธุ์ไปปักประมาณ 1 สัปดาห์ จะเป็นใบอ่อนแตกออกมา ว่านน้ำเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน เมื่อเข้าปลายฤดูฝนเหง้าจะเริ่มมีใบแห้ง เริ่มจากเหง้าข้อที่ 1 ไปเรื่อยๆ ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้เป็นเวลานาน เหง้าอาจจะแห้งตายได้แต่ถ้ามีน้ำอยู่ เหง้าก็ยังคงสดอยู่และแตกรากและใบใหม่ต่อไป

ประโยชน์ว่านน้ำ

    มีการนำว่านน้ำมาใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ต้น ค.ศ.1600 ในแถบประเทศทวีปยุโรบ นำมาใช้เป็นสารไล่แมลง

    สารในเหง้าว่านน้ำ โดยเฉพาะ beta-asarone ที่พบมากเป็นพิเศษ เป็นสารที่มีความเป็นพิษต่อแมลง โดยสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ การวางไข่ และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแมลง และยับยั้งการกินอาหารของแมลง

    สารสกัดของว่านน้ำด้วยการสกัดจากเมทานอลมาทดสอบโดยใช้สัมผัสโดยตรงกับตัวเต็มวัยของด้วงงวงข้าว และด้วงถั่วเหลือง พบว่า แมลงทั้งสองมีอัตราการตายมากกว่า 90% หลังการสัมผัสสาร 3-4 วัน



ที่มา กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น