วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฏ.เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ด้านดินปุ๋ย เรื่อง สรุปรายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ด้านดินปุ๋ย เรื่อง สรุปรายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการขับเคลื่อนดำเนินงานของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน แลกเปลี่ยนเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วนดินปุ๋ย ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meething ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี








ศทอ.สฏ.ข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพการผลิตขยายชีวภัณฑ์แก่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบ

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพการผลิตขยายชีวภัณฑ์แก่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบ เพื่อยกระดับเป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี






วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

วิทยากรการใช้สารชีวภัณฑ์แทนการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรกรรม

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 นางสาวเฑียรมณี พรัมรัตนพงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรและประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลบางเดือน พร้อมสาธิตการผลิตขยายเชื้อราไตรเดอร์มา และการนำไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี และมีผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 ตำบลบางเดือน จ.สุราษฎร์ธานี











ศทอ.สฎ. ร่วมจัดฐานการเรียนรู้การสัมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการผลิตขยายชีวภัณฑ์แก่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบ

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมกับนางสาวนิพวรรณ หมีทอง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา จัดฐานการเรียนรู้การสัมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการผลิตขยายชีวภัณฑ์แก่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบ เพื่อยกระดับเป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน โดยจัดฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน คือ

ฐานที่1 เทคโรโลยีการผลิตขยาย บาซิลลัส ซับทิลิส อย่างง่ายเพื่อควบคุมโรคพืช
ฐานที่2 การผลิตสารสกัดสะเดา/แมลงเศรษกิจ(ชันโรง)
ฐานที่3 เทคโนโลยีการผลิตขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ
ฐานที่4 เทคโนโลยีการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์
ฐานที่5 นวัตกรรมระบบน้ำอัจฉริยะ
ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี










วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเกษตรกร หลักสูตรการพัฒนาหมอพืชชุมชน ปี 2566 ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หลักสูตรที่ 1 วันที่24-25 สิงหาคม พ.ศ. 2566

 

 วันที่ 24-25 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับนายสิทธิพร  รัตนภิรมย์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืชและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเกษตรกร หลักสูตรการพัฒนาหมอพืชชุมชน ปี 2566 ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หลักสูตรที่ 1 โดยมี นายชัยพร นุภักดิ์ เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โดยการอบรมนั้นเป็นการบรรยายเรื่องวิธีการจัดการควบคุมศัตรูพืช ด้วยวิธีผสมผสานหรือ IPM วิธีการใช้สารชีวภัณฑ์และแมลงศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช (เชื้อราไตรโคเดอร์มา , บิวเวอเรีย เมตาไรเซียม การเลี้ยงแมลงหางหนีบ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต เป็นต้น) การถ่ายรูปเบื้องต้นเพื่อการวินิจฉัยอาการผิดปกติ ทั้งนี้ในวันที่ 25 สิงหาคม 2566 นายสิทธิพร  รัตนภิรมย์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมอบรมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี






















วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ศทอ.สฎ. ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเกษตรกร หลักสูตรการพัฒนาหมอพืชชุมชน ปี 2566 ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หลักสูตรที่ 1 ครั้งที่ 2 วันที่22-23 สิงหาคม พ.ศ. 2566

 วันที่ 22-23 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา ร่วมเป็นวิทยากรอบรมเกษตรกร หลักสูตรการพัฒนาหมอพืชชุมชน ปี 2566 ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หลักสูตรที่ 1 ครั้งที่ 2 โดยมี นายสุรชัย สุภาพ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โดยการอบรมนั้นเป็นการบรรยายเรื่องวิธีการจัดการควบคุมศัตรูพืช ด้วยวิธีผสมผสานหรือ IPM วิธีการใช้สารชีวภัณฑ์และแมลงศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช (เชื้อราไตรโคเดอร์มา , บิวเวอเรีย เมตาไรเซียม การเลี้ยงแมลงหางหนีบ มวนเพชฌฆาต มวนพิฆาต เป็นต้น) การถ่ายรูปเบื้องต้นเพื่อการวินิจฉัยอาการผิดปกติ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากนางสาวจุฬาภรณ์ นกสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช เข้าร่วมติดตามการอบรมพร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรให้กับผู้เข้าร่วมอบรม ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา