วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำรวจและติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว ณ แปลงนายวัน ไชยวงค์ พื้นที่ ตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปลูกมะพร้าวน้ำหอม จำนวน 25 ไร่ โดยทางศูนย์ได้ลงติดตามการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ทางศูนย์ฯได้สนับสนุนแตนเบียนบราคอนแ ซึ่งแตนเบียนบราคอนนั่นเป็นศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของหนอนหัวดำมะพร้าว เข้าทำลายในระยะหนอนของหนอนหัวดำทำให้หนอนตาย โดยปล่อยอย่างต่อเนื่องทุก 15 วัน อย่างน้อย 16 ครั้งต่อเนื่องกัน ปล่อยแตนเบียนตัวเต็มวัย 200 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง ควรปล่อยช่วงตอนเย็น นอกจากนี้ยังพบ โดยแมลงดำหนามมะพร้าวนั่น ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะซ่อนอยู่กับยอดอ่อนที่เริ่มคลี่ หนอนวัย 1 จะแทะผิวใบด้านในที่ยังพับติดกัน เมื่อใบคลีออกทำให้ใบอ่อนมีรอยไหม้ ตัวเต็มวัยจะกัดทำลายและวางไข่ที่ใบอ่อน ทำให้ปลายใบอ่อนม้วนเป็นที่อาศัยของหนอนอยู่ภายใน ทางศูนย์ได้ให้คำแนะนำโดยการตัดยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทิ้งแล้วเผาทำลาย เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนามมะพร้าว อีกทั้งยังพบการเข้าทำลายของด้วงแรดด้วย ตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น