วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

⭐⭐วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฎิบัติการ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ลงพื้นที่ติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าวซึ่งเป็นแปลงของนายสมาน โดยเจริญ มีพื้นที่ปลูกจำนวน 7 ไร่ จากการลงสำรวจพบการเข้าทำลายของด้วงแรด หนอนหัวดำมะพร้าว นอกจากนี้ยังทางศูนย์ฯยังสนับสนุน แตนเบียนบราคอน 5,000 ตัว ณ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
👨‍🏫ลักษณะอาการเข้าทำลายของด้วงแรด
ตัวเต็มวัย บินขึ้นไปกัดเจาะบริเวณโคนทางใบหรือยอดอ่อนของปาล์ม รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้
👩‍🏫คำแนะนำในการป้องกันกำจัดด้วงแรด มีดังนี้
การป้องกันกำจัด
1. การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม คือการกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด
โดยยึดหลักปฏิบัติดังนี้
1.1 เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของมะพร้าว
1.2 เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.
1.3 ถ้ามีความจำเป็นต้องกองมูลสัตว์นานเกินกว่า 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกอง หรือนำใส่ในถุงปุ๋ยผูกปากให้แน่นและนำไปเรียงซ้อนกันไว้
2. การควบคุมโดยวิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์ม ตามโคนทางใบ หากพบรอยแผล เป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดเสีย
3. การควบคุมโดยใช้สารฟีโรโมน ล่อจับตัวเต็มวัย และนำมาทำลาย ฟีโรโมน
เป็นฮอร์โมนเพศจะส่งกลิ่นเฉพาะออกมาดึงดูดด้วงแรดที่เป็นตัวเต็มวัยทั้งเพศผู้และเพศเมียเพื่อมาผสมพันธุ์กัน ( 1 กับดัก/ พื้นที่ 1 ไร่)
4. การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ เกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด รดน้ำให้ความชื้น หาวัสดุ เช่น ใบมะพร้าวคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อจะทำลายด้วงแรดมะพร้าวทุกระยะการเจริญเติบโต
5. การใช้สารเคมี
5.1 ต้นมะพร้าวอายุ 3 - 5 ปี ซึ่งยังไม่สูงมากนัก ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6 - 8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว
5.2 ใช้สารฆ่าแมลง
-ไดอะซินอน 60% EC หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% EC 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
-อิมิดาโคลพริด หรือ ไทอะมีทอกแซม อัตรา 4-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ราดบริเวณคอมะพร้าวตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียก โดยใช้ปริมาณ 1- 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 - 20 วัน ควรใช้ 1 - 2 ครั้ง ในช่วงระบาด
👨‍🏫ลักษณะอาการเข้าทำลายของหนอนหัวดำ
ตัวหนอนเข้าทำลายใบมะพร้าวโดยแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้นจะถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้นสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ผิวใบ และแทะกินผิวใบ หากการทำลายรุนแรงจะพบว่าหนอนหัวดำมะพร้าวทำลายก้านทางใบ จั่นและผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำมะพร้าวอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้
👩‍🏫คำแนะนำในการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำ มีดังนี้
1. วิธีเขตกรรมและวิธีกล ตัดใบที่มีหนอนหัวดำมะพร้าวนำไปเผาทำลายทันที ไม่ควรเคลื่อนย้าย
ต้นพันธุ์มะพร้าวหรือพืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งที่มีการระบาด
2. พ่นด้วยเชื้อบีที (Bacillus thuringiensis) พ่นหนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ จำนวน 3 ครั้ง
แต่ละครั้งห่างกัน 7 - 10 วัน อัตรา 80 - 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบ อัตราตามคำแนะนำในฉลาก
ไม่ควรพ่นในขณะที่มีแสงแดดจัดเพราะจะทำให้เชื้อบีทีอ่อนแอ ควรพ่นช่วงเช้าก่อนเวลา 10.00 น. หรือช่วงเย็นหลังเวลา
16.00 น. และต้องใช้เชื้อบีทีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรแล้วเท่านั้น
3. ปล่อยแตนเบียนไข่ทริโครแกรมมา (Trichogrammasp.) เพื่อควบคุมระยะไข่ อัตราไร่ละ 10 แผ่น
แผ่นละ 2,000 ตัว โดยปล่อย 12 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 15 วัน
4. ปล่อยแตนเบียนบราคอน (Bracon hebetor) เพื่อควบคุมระยะหนอน อัตราไร่ละ 200 ตัว
กระจายทั่วทั้งแปลง โดยปล่อย 16 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 15 วัน
5. ปล่อยแตนเบียนโกนีโอซัสนีแฟนติดิส (Goniozusnephantidis) เพื่อควบคุมระยะหนอน
โดยปล่อยช่วงเวลาเย็น พลบค่ำ อัตราไร่ละ 200 ตัว ต่อครั้ง กระจายทั่วทั้งแปลง โดยปล่อยเดือนละครั้ง
6. การใช้สารเคมี
-ใช้สารอีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC เข้มข้นโดยไม่ต้องผสมน้ำฉีดเข้าที่ลำต้นมะพร้าว
อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อต้น โดยใช้สว่านเจาะรูให้เอียงลงประมาณ 45 องศา จำนวน 2 รูให้ตรงข้ามกัน เจาะรูให้ลึก
10 - 15 เซนติเมตร ตำแหน่งของรูอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร แล้วฉีดสารเคมีรูละ15 มิลลิลิตร ปิดรูด้วย
ดินน้ำมัน วิธีนี้จะป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวได้นานมากกว่า 3 เดือน
(วิธีการนี้สามารถป้องกันกำจัดศัตรูชนิดอื่นได้ด้วย เช่น ด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว) ** แนะนำเฉพาะมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร ขึ้นไป
- กรณีมะพร้าวต้นเล็กที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร รวมทั้งมะพร้าวกะทิมะพร้าวน้ำหอมและ
มะพร้าวที่ใช้ทาน้ำตาล ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง และไม่มีการปล่อยแตนเบียน ให้พ่นทรงพุ่มด้วยสาร
ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน
5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร (สารนี้มีพิษสูงต่อกุ้ง ไม่ควรใช้บริเวณที่มีการเลี้ยงกุ้ง) โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่งตามอัตรา
ที่กำหนดผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่มบริเวณใต้ใบ 1 - 2 ครั้ง ควรใช้เครื่องยนต์พ่นสารที่สามารถควบคุมแรงดันได้

และมีแรงดันไม่น้อยกว่า 30 บาร์ กรณีที่มีการปล่อยแตนเบียน ให้พ่นสารเคมีก่อน ประมาณ 2 สัปดาห์ ค่อยทำการปล่อยแตนเบียน





 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น