วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ติดตามการระบาดแมลงดำหนามมะพร้าว

 

ที่ 18 ตุลาคม 2567 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของศัตรูมะพร้าวของคุณการะเกด รดทิพย์ เกษตรกร ตำบลทุ่งรัง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการลงสำรวจพบว่ามีการเข้าทำลายของแมลงดำหนามมะพร้าว โดยแมลงดำหนามมะพร้าวนั่น ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะซ่อนอยู่กับยอดอ่อนที่เริ่มคลี่ หนอนวัย 1 จะแทะผิวใบด้านในที่ยังพับติดกัน เมื่อใบคลีออกทำให้ใบอ่อนมีรอยไหม้ ตัวเต็มวัยจะกัดทำลายและวางไข่ที่ใบอ่อน ทำให้ปลายใบอ่อนม้วนเป็นที่อาศัยของหนอนอยู่ภายใน ทางศูนย์ได้ให้คำแนะนำโดยการตัดยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทิ้งแล้วเผาทำลาย เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนาม หากใช้สารเคมีควรใช้ cartap hydrochloride 4% GR อัตรา 30 กรัมต่อต้น ใส่เป็นถุงสีชาติดไว้ที่ยอดอ่อน สำหรับต้นที่สูง 1 เมตรขึ้นไปเพื่อป้องกันการทำลายแมลงดำหนามมะพร้าวได้นาน 1 เดือน ส่วนต้นที่สูง 12 เมตรขึ้นไปได้แนะนำ สารอิมาเม็กตินเบนโซเอต อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อต้น โดยการเจาะมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 รู อยู่ด้านตรงข้ามกัน ลึก 10 เซนติเมตร ใส่สารรูละ 25 มิลลิลิตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที วิธีนี้จะป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวได้ไม่น้อยกว่า 2 เดือน (วิธีการนี้สามารถป้องกันกำจัดได้ทั้งด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอนหัวดำมะพร้าว)ทั้งนี้จากการลงสำรวจพบว่าการเข้าทำลายของแมลงดำหนามลดลง นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังได้สนับสนุน แมลงหางหนีบสีดำมะพร้าวจำนวน 300 ตัว โดยแมลงหางหนีบสีดำมะพร้าว จะเข้าทำลายแมงดำหนามทุกระยะตั้งแต่ ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย แมลงหางหนีบสีดำมะพร้าวเป็นแมลงตัวห้ำที่เพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณง่ายสามารถนำไปปล่อย เพื่อควบคุมแมลงดำหนามและศัตรูมะพร้าวชนิดอื่น อัตราการปล่อยจะอยู่ที่ 8ตัว/ต้นซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดอัตราการปล่อย (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาด)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น