วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ศทอ.สุราษฎร์ธานีสำรวจและติดตามการระบาดศัตรูปาล์มน้ำมัน

          วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน สำรวจและติดตามการระบาดหนอนหัวดำ ณ แปลงนายวินัย อยู่สกุล พื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการสำรวจพบการระบาดของหนอนหัวดำเข้าทำลายในปาล์มน้ำมัน ตัวเต็มวัยของหนอนหัวดำเป็นผีเสื้อกลางคืน เวลากลางวันจะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าวหรือใบปาล์มน้ำมัน หรือในที่ร่ม ผีเสื้อเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย เพศเมียวางไข่ตัวละประมาณ 200 ฟอง ไข่มีลักษณะกลมรี แบน วางไข่เป็นกลุ่ม ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายเข้าไปกัดกินใบมะพร้าว การทำลายเกิดในระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยตัวหนอนจะถักใยดึงใบมะพร้าวหรือใบปาล์มน้ำมันมาเรียงติดกันเป็นแพ และสร้างอุโมงค์เป็นทางยาวอาศัยกัดกินใบอยู่ภายในอุโมงค์ ชอบทำลายใบแก่ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่แล้ว จะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ มักจะพบหนอนหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวใบเดียวกัน หนอนจะสร้างใยผสมกับมูล ทำเป็นอุโมงค์และอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ ทั้งนี้เกษตกรนั้นได้ฉีดสารเคมีป้องกันไปเบื้องต้น

ศทอ.สฎได้แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
1. ตัดทางใบปาล์มน้ำมันที่ถุกหนอนหัวดำทำลายไปเผาทำลาย
2. ใช้แนะนำ สาร อีมาเม็กตินเบนโซเอต (1.92% อีซี) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อต้น โดยการเจาะมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จำนวน 2 รู อยู่ด้านตรงข้ามกัน ลึก 10 เซนติเมตร ทิศเหนือ-ใต้ (ป้องกันดินน้ำมันละลาย) ใส่สารรูละ 25 มิลลิลิตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที วิธีนี้จะป้องกันกำจัดหนอนหัวดำได้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน (วิธีการนี้สามารถป้องกันกำจัดได้ทั้งด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอนหัวดำมะพร้าว) นอกจากนี้ทางศูนย์ฯได้สนับสนุนแตนเบียนบราคอนจำนวน 6,000 ตัว
ที่มา : 1. กรมวิชาการเกษตร
2. กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร
ถัดจากนั้นทางลงพื้นที่ติดตามการระบาดศัตรูในมะพร้าว ในหมู่ที่ 1 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยเกษตรกรนั้นได้ฉีดสาร อีมาเม็กตินเบนโซเอตโดยการเจาะเข้าลำต้น พร้อมเอาดินน้ำมันอุด ทั้งนี้ป้องกันการเข้าทำลายของหนอนหัวดำมะพร้าว ด้วงแรด ด้วงงวงและแมลงศัตรูมะพร้าวชนิดอื่นต่อไป














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น