วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการและนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่สำรวจและติดตามการระบาดศัตรูปาล์มน้ำมัน ณ แปลงนายวินัย อยู่สกุล พื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบการเข้าทำลายของหนอนหัวดำและยังพบการเข้าทำลายของหนอนปลอกเล็กด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ศทอ.สฎ.สำรวจและติดตามการระบาดศัตรูปาล์มน้ำมัน
วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ศทอ. สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือนตุลาคม 2567
วันที่ 29 ตุลาคม 2567 นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เข้าร่วมการประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยมีนายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศทอ. สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมรับชมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการยกระดับการพัฒนาภาคการเกษตรในระดับพื้นที่
วันที่ 29 ตุลาคม 2567 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เข้าร่วมรับชมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อรับทราบและเข้าใจนโยบายความร่วมมือ โครงการยกระดับการพัฒนาภาคการเกษตรในระดับพื้นที่ ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งชาติ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ศทอ.สฎ. เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
วันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดกลางใหม่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ศทอ.สุราษฎร์ธานี ติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของศัตรูมะพร้าวของ คุณชนัดดา วงศ์วานิช ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่จำนวน 1 ไร่
จากการลงสำรวจพบว่ามีการเข้าทำลายของแมลงดำหนามมะพร้าว โดยตัวหนอนและตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามมะพร้าวจะซ่อนอยู่กับยอดอ่อนที่เริ่มคลี่ หนอนวัย 1 จะแทะผิวใบด้านในที่ยังพับติดกัน เมื่อใบคลี่ออกทำให้ใบอ่อนมีรอยไหม้ ตัวเต็มวัยจะกัดทำลายและวางไข่ที่ใบอ่อน ทำให้ปลายใบอ่อนม้วนเป็นที่อาศัยของหนอนอยู่ภายใน
วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ศทอ.สุราษฎร์ธานี ให้บริการคลินิกพืชแก่เกษตรกร
วันที่ 21 ตุลาคม 2567 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ให้บริการคลินิกพืชแก่เกษตรกรที่มีปัญหา ด้วงแรดกัดกินยอดต้นปาล์ม ได้ให้คำแนะนำในการใช้ถังฟีโรโมนล่อด้วงแรดตัวเต็มวัย และสนับสนุนชีวภัณฑ์ เชื้อราเมตาไรเซียม ราดใส่กองล่อเพื่อกำจัดหนอนด้วงแรด
ศทอ.สุราษฎร์ธานี ร่วมสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
วันที่ 18 - 20 ตุลาคม 2567 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมสัมมนาแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรทั้งในการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย การขับเคลื่อนงานตามภารกิจ การแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีนายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธาน
วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ติดตามการระบาดแมลงดำหนามมะพร้าว
ที่ 18 ตุลาคม 2567 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของศัตรูมะพร้าวของคุณการะเกด
รดทิพย์ เกษตรกร ตำบลทุ่งรัง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการลงสำรวจพบว่ามีการเข้าทำลายของแมลงดำหนามมะพร้าว
โดยแมลงดำหนามมะพร้าวนั่น ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะซ่อนอยู่กับยอดอ่อนที่เริ่มคลี่
หนอนวัย 1 จะแทะผิวใบด้านในที่ยังพับติดกัน
เมื่อใบคลีออกทำให้ใบอ่อนมีรอยไหม้ ตัวเต็มวัยจะกัดทำลายและวางไข่ที่ใบอ่อน
ทำให้ปลายใบอ่อนม้วนเป็นที่อาศัยของหนอนอยู่ภายใน
ทางศูนย์ได้ให้คำแนะนำโดยการตัดยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทิ้งแล้วเผาทำลาย
เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงดำหนาม หากใช้สารเคมีควรใช้ cartap hydrochloride
4% GR อัตรา 30
กรัมต่อต้น
ใส่เป็นถุงสีชาติดไว้ที่ยอดอ่อน สำหรับต้นที่สูง 1 เมตรขึ้นไปเพื่อป้องกันการทำลายแมลงดำหนามมะพร้าวได้นาน
1 เดือน
ส่วนต้นที่สูง 12 เมตรขึ้นไปได้แนะนำ
สารอิมาเม็กตินเบนโซเอต อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อต้น
โดยการเจาะมะพร้าวสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร
จำนวน 2 รู
อยู่ด้านตรงข้ามกัน ลึก 10 เซนติเมตร
ใส่สารรูละ 25 มิลลิลิตร
แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที วิธีนี้จะป้องกันกำจัดแมลงดำหนามมะพร้าวได้ไม่น้อยกว่า
2 เดือน
(วิธีการนี้สามารถป้องกันกำจัดได้ทั้งด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าว
แมลงดำหนามมะพร้าว และหนอนหัวดำมะพร้าว)ทั้งนี้จากการลงสำรวจพบว่าการเข้าทำลายของแมลงดำหนามลดลง
นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังได้สนับสนุน แมลงหางหนีบสีดำมะพร้าวจำนวน 300 ตัว
โดยแมลงหางหนีบสีดำมะพร้าว จะเข้าทำลายแมงดำหนามทุกระยะตั้งแต่ ระยะไข่ หนอน
ดักแด้ และตัวเต็มวัย
แมลงหางหนีบสีดำมะพร้าวเป็นแมลงตัวห้ำที่เพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณง่ายสามารถนำไปปล่อย
เพื่อควบคุมแมลงดำหนามและศัตรูมะพร้าวชนิดอื่น อัตราการปล่อยจะอยู่ที่ 8ตัว/ต้นซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดอัตราการปล่อย
(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาด)
วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ศทอ.สุราษฎร์ธานีสำรวจและติดตามการระบาดศัตรูปาล์มน้ำมัน
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นางชนิดา ตะเภาน้อย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน สำรวจและติดตามการระบาดหนอนหัวดำ ณ แปลงนายวินัย อยู่สกุล พื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการสำรวจพบการระบาดของหนอนหัวดำเข้าทำลายในปาล์มน้ำมัน ตัวเต็มวัยของหนอนหัวดำเป็นผีเสื้อกลางคืน เวลากลางวันจะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าวหรือใบปาล์มน้ำมัน หรือในที่ร่ม ผีเสื้อเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย เพศเมียวางไข่ตัวละประมาณ 200 ฟอง ไข่มีลักษณะกลมรี แบน วางไข่เป็นกลุ่ม ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายเข้าไปกัดกินใบมะพร้าว การทำลายเกิดในระยะตัวหนอนเท่านั้น โดยตัวหนอนจะถักใยดึงใบมะพร้าวหรือใบปาล์มน้ำมันมาเรียงติดกันเป็นแพ และสร้างอุโมงค์เป็นทางยาวอาศัยกัดกินใบอยู่ภายในอุโมงค์ ชอบทำลายใบแก่ เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่แล้ว จะถักใยหุ้มลำตัวอีกครั้ง และเข้าดักแด้อยู่ภายในอุโมงค์ มักจะพบหนอนหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวใบเดียวกัน หนอนจะสร้างใยผสมกับมูล ทำเป็นอุโมงค์และอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ ทั้งนี้เกษตกรนั้นได้ฉีดสารเคมีป้องกันไปเบื้องต้น
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ศทอ.สุราษฎร์ธานี ถ่ายทอดความรู้การผลิตและการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านบางเมาะ ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี
วันที่ 10 ตุลาคม 2567 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และนางสาวกิตติญา นาสนิท นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนกับสำนักงานเกษตรอำเภอวิภาวดี ถ่ายทอดความรู้การผลิต และการใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ได้บรรยายพร้อมสาธิตวิธีการผลิตน้ำเห็ดเรืองแสงรัศมี และวิธีการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อกำจัดเชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora spp.) สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าในต้นทุเรียน ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านบางเมาะ หมู่ที่ 9 ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี มีเกษตรกรเข้าร่วม 15 ราย