วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567

 วันที่ 28 มิถุนายน 2567 นางสาวนิสิตา เพชรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการและนายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรร่วมกับนางสาวปิยาณี เสนทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่ติดตามการระบาดศัตรูทุเรียน ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบการเข้าทำลายของโรคกิ่งแห้งทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp.

ลักษณะอาการ ยอดหรือกิ่งทุเรียนที่แตกใบอ่อน มีลักษณะแห้งกรอบ ใบจะไหม้จากปลายใบ มีสปอร์สีขาวอมส้ม หากลุกลามจะทำให้เกิดแผลที่ใต้ท้องกิ่ง ลามติดลำต้น ลำต้นจะเน่า กลิ่นจะคล้าย ไม้แช่น้ำ มีสปอร์สีขาวเกาะอยู่ที่กิ่งและเมื่อแสดงอาการรุนแรงใบจะร่วงรากแห้ง และทุเรียนตายอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด
1.จัดการแปลงและบำรุงต้นตามระยะการเจริญเติบโตของทุเรียน
2.ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งแสงส่องถึงโคนต้นและกำจัดวัชพืชเพื่อลดความชื้น
3.ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อลดปริมาณเชื้อในแปลงทุกๆ 1-3 เดือน
4.หากพบการระบาดเพียงเล็กน้อยควรตัดส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
5.หากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมี copper hydroxide หรือ carbendazim (FRAC :1) ตามอัตราและคำแนะนำข้างฉลาก
นอกจากนี้ทางศูนย์ฯยังได้เก็บตัวอย่างส่วนที่เป็นโรคและดินไปตรวจตัวอย่างเพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น