วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ.เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการผลิตชีวภัณฑ์แก่ ศจช. ต้นแบบ ศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน

วันที่ 28-30 สิงหาคม 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางสาวกิตติญา นาสนิท เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการผลิตชีวภัณฑ์แก่ ศจช. ต้นแบบ ศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน มีการฝึกปฏิบัติตามฐานการเรียนรู้ด้านชีวภัณฑ์ ณ ศทอ.สฎ และมีการจัดเวทีวิเคราะห์ศักยภาพ ศจช. เพื่อพัฒนาศักยภาพศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบให้เป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน โดยยกระดับมาตรฐานการผลิตชีวภัณฑ์ และการควบคุมคุณภาพชีวภัณฑ์ที่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ผลิตให้มีคุณภาพสามารถให้บริการชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชภายในชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี










ศทอ.สฎ. ร่วมจัดฐานการเรียนรู้การสัมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการผลิตขยายชีวภัณฑ์แก่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบ

 วันที่ 29 สิงหาคม 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมกับนางสาวนิพวรรณ หมีทอง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา จัดฐานการเรียนรู้การสัมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการผลิตขยายชีวภัณฑ์แก่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นแบบ เพื่อยกระดับเป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากจากนายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน

โดยจัดฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน ทั้งนี้ได้รับเคือ
ฐานที่1 เทคโรโลยีการผลิตขยาย บาซิลลัส ซับทิลิส อย่างง่ายเพื่อควบคุมโรคพืช
ฐานที่2 การผลิตสารสกัดสะเดา/แมลงเศรษกิจ(ชันโรง)
ฐานที่3 เทคโนโลยีการผลิตขยายแมลงศัตรูธรรมชาติ
ฐานที่4 เทคโนโลยีการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์
ฐานที่5 นวัตกรรมระบบน้ำอัจฉริยะ
ณ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี












วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ.เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การผลิตขยายและการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรู

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การผลิตขยายและการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสาธิตการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรียและแมลงหางหนีบขาวงแหวนให้เกษตรกรได้นำไปผลิตและใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ลดต้นทุนการใช้สารเคมี มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 30 ราย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริด้านการเกษตรบ้านยางยวน หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตรอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช










วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ศทอ.สฎ. ร่วมประชุมคณะทำงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดระดับจังหวัด ภายใต้โครงการจัดสรรที่ดินตามนโยบายรัฐบาล ครั้งที่ 4/2567

 วันที่ 28 สิงหาคม 2567 นายณัทธร รักษ์สังข์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมประชุมคณะทำงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดระดับจังหวัด ภายใต้โครงการจัดสรรที่ดินตามนโยบายรัฐบาล ครั้งที่ 4/2567 เพื่อร่วมกันวางแผนการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ การใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ และการตลาดในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมเกษตรกรใช้ "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" ณ ห้องนางยวน ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยมีนายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธาน





ศทอ.สฎ.สำรวจและติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว

 วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอพุนพินสำรวจและติดตามการระบาดศัตรูมะพร้าว ณ แปลงมะพร้าว หมู่ที่ 1 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบการระบาดเข้่าทำลายของหนอนหัวดำมะพร้าว ระดับรุนแรง ทั้งนี้ได้ให้เกษตรกรติดตามผลจากการฉีดยาเข้าลำต้นอย่างใกล้ชิด อีกทั้งทางศูนย์ได้สนับสนุนแตนเบียนบราคอน จำนวน 8,000 ตัวให้กับเกษตรกรพร้อมเฝ้าระวังในพื้นที่ใกล้เคียง

จากนั้นลงพื้นที่แปลมะพร้าวของ นายทวีกิจ ลิ้มฮั้ว พบการเข้าทำลายของแมลงดำหนาม หนอนหัวดำมะพร้าว และพบการขาดธาตุโบรอน และแมกนีเซียม ทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำการจัดการศัตรูแบบผสมผสาน IPM เพื่อจัดการแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
นอกจากนี้ยังลงพื้นที่ในแปลงปาล์มน้ำมันพบการเข้าทำลายของด้วงแรดและด้วงกุหลาบ ทั้งนี้ได้แนะนำการจัดการด้วงแรดด้วยกับดักฟีโรโมนเพื่อล่อด้วงแรดให้มาติดกับดักพร้อมทำลาย พร้อมทั้งใช้การจัดการศัตรูแบบผสมผสาน IPM การจัดแปลงให้มีความสะอาดลดการระบาดของตัวอ่อนด้วงแรด







วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2567

 วันที่ 26-27 สิงหาคม 2567 นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับนายประสงค์ บุญเจริญ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร อบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่อารักขาพืชให้เป็นหมอพืชระดับพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่อำเภอและเกษตรกรเข้าร่วมอบรม พร้อมเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงการอบรมเกษตรกร(หมอพืชชุมชน) ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร

ในส่วนของวันที่ 27 สิงหาคม 2567 นั้นลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติการวินิจฉัยศัตรูพืชภาคสนาม เพื่อเพิ่มทักษะในการวินิจฉัยศัตรูพืชและให้คำแนะนำการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสมในการให้บริการวินิจฉัยศัตรูพืชในพื้นที่ ณ วิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านถ้ําสิงห์